Archive

Archive for June, 2015

ใครลับใครลวง

j9beca7dce9h9cdi798cb.jpg

ชายเกาหลีใต้วัย 68 ปีเพียงคนเดียวสามารถแพร่เชื้อทำให้มีผู้ติด “ไวรัสเมอร์ส” มากถึง 175 คน ภายใน 1 เดือน และเสียชีวิตไปแล้ว 27 คน ตัวเลขนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา ย้อนกลับไปวิเคราะห์ตัวเลขของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สที่คนงานจากตะวันออกกลางว่า อาจมีการลับลวงซ่อนเร้นจำนวนตัวเลขที่แท้จริง !?!

ย้อนดู 3 ปีที่แล้ว ตรวจพบไวรัสเมอร์สครั้งแรกเมื่อปี 2012 ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ช่วงแรกนักวิทยาศาสตร์เรียกเชื้อนี้ว่า “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2012” จากนั้นกลุ่มผู้ป่วยถูกเรียกว่าเป็น “โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง” (Middle East respiratory syndrome coronavirus, MERS-CoV) ปัจจุบันย่อเหลือเพียงโรค “ไวรัสเมอร์ส”

ปี 2012 รายงานพบผู้ติดเชื้อตัวนี้ครั้งแรกในซาอุดีอาระเบีย 9 คน เสียชีวิต 6 คน ปัจจุบันลุกลามไปหลายประเทศ ข้อมูลวันที่ 20 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วย 1,338 คน เสียชีวิต 475 คน เฉพาะเกาหลีใต้ตัวเลขวันที่ 23 มิถุนายน พบผู้ป่วย 174 คน เสียชีวิต 27 คน มีการกักตัวกลุ่มเสี่ยงถึง 6,000 คน และเฝ้าติดตามอีก 4 หมื่นคน ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศล่าสุด คือประเทศที่ 26 ซึ่งพบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สเป็นชาวโอมานวัย 75 ปี

ตั้งแต่ปี 2012-2015 ซาอุดีอาระเบียพบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส 950 คน เสียชีวิต 412 คน ส่วนประเทศโอมาน พบผู้ติดเชื้อ 6 คน เสียชีวิต 3 คน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 76 คน เสียชีวิต 10 คน จอร์แดน 19 คน เสียชีวิต 6 คน กาตาร์ 13 คน เสียชีวิต 5คน อิหร่าน 6 คน เสียชีวิต 2 คน

คำถามที่หลายฝ่ายสงสัย คือ ประเทศโอมานประกาศว่าพบผู้ป่วยเมอร์สเพียง 6 คน และเสียชีวิตไป 3 คนนั้น เป็นตัวเลขแท้จริงหรือไม่ ? ประเทศไทยพบ 1 รายนั้น เผอิญเป็นชาวโอมานรายที่ 7 จริงหรือ ?

ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาให้ข้อมูลว่า จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในเกาหลีใต้ ทำให้นักวิเคราะห์ด้านระบาดวิทยาขององค์การอนามัยโลกเริ่มไม่เชื่อว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตไวรัสเมอร์สในตะวันออกกลางข้างต้น จะเป็นตัวเลขที่แท้จริง เพราะองค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของอเมริกาหรือซีดีซี พยายามออกมาประกาศขอความร่วมมือจากรัฐบาลกลุ่มประเทศตะวันออกกลางหลายครั้งแล้ว ให้ช่วยเปิดเผยจำนวนผู้ติดเชื้อ โรงพยาบาลและแหล่งที่มาของกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สในประเทศต่างๆ

“แต่ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ เมื่อตะวันออกกลางไม่เปิดเผย การไม่รู้ตัวเลขที่แท้จริงทำให้วิเคราะห์ได้ยากมาก เช่น กรณีชายเกาหลีใต้คนนี้เดินทางไป 4 ประเทศก่อนกลับเกาหลีคือ ซาอุฯ บาห์เรน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผู้ป่วยรายนี้ยืนยันว่า ไม่ได้สัมผัสอูฐ ไม่ได้กินนมอูฐ ไม่ได้ไปโรงพยาบาล ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไร หรืออยู่ใกล้สถานที่ที่อาจมีเชื้อไวรัสเมอร์ส ก็หมายความว่าเชื้อตัวนี้อาจกระจายอยู่ในชุมชนบางแห่งแล้ว แต่เราไม่รู้เลยว่าที่ไหน ตัวเลขผู้ติดเชื้อของเกาหลีใต้ทำให้ต้องทบทวนกันใหม่ว่า เชื้อตัวนี้อาจแพร่กระจายไปในตะวันออกกลางมากกว่าที่คิดไว้มาก”

ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาข้างต้น อธิบายต่อว่า ผู้ได้รับเชื้อไวรัสเมอร์สร้อยละ 20 จะไม่แสดงอาการอะไรออกมา แต่อาจเป็น “พาหะ” นำเชื้อร้ายตัวนี้ไปติดต่อให้ผู้อื่นได้ ดังนั้นการสืบหาผู้มีเชื้อไวรัสเมอร์สแล้วรีบนำมารักษาจึงเป็นเรื่องสำคัญในการควบคุมเชื้อไวรัสตัวนี้

สอดคล้องกับความเห็นของ “ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา” ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า เชื้อตัวนี้ไม่ได้เผยแพร่ได้ง่ายเหมือนเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วไป แต่ต้องรีบกักบริเวณผู้ที่เข้าข่ายน่าสงสัยไว้ก่อน เช่น ในแท็กซี่ที่รับผู้โดยสารชาวโอมานคนนี้นั้น ไม่ใช่แค่ตามหาคนขับแท็กซี่มาตรวจเชื้อแต่ต้องทำความสะอาดด้านนอกและด้านในรถแท็กซี่อย่างละเอียด เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารคนต่อไปติดเชื้อที่หลงเหลืออยู่ตามตัวรถแท็กซี่

“ถ้าเมอร์สหลุดจากผู้โดนกักกันโรคไปได้ จะเป็นปัญหาใหญ่มาก” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวเตือน

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า หลังพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสเมอร์สในประเทศไทย 1 คน ได้ขอความร่วมมือกักตัวผู้สัมผัสโรคแล้วจำนวน 163 คน และจัดพื้นที่ในสนามบินรองรับเที่ยวบินที่เดินทางมาจากประเทศสุ่มเสี่ยง 7 ประเทศ ได้แก่ โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน จอร์แดน และเกาหลีใต้ ไว้เป็นการเฉพาะเรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางเดินทางมาไทยเดือนละ 2-3 หมื่นคน ชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 1 หมื่นคน ชาวโอมาน 5,000-7,000 คน ชาวคูเวต 3,000-7,000 คน และชาวซาอุดีอาระเบีย 600 -1,300 คน เดินทางมาประเทศไทย

หากรัฐบาลในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางยังปกปิดความลับ หรือให้ตัวเลขหลอกลวงในเรื่องของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส การรับมือของรัฐบาลไทยกับผู้เดินทางเข้ามาเดือนละ 2-3 หมื่นรายนั้น

การกลั่นกรองเบื้องต้นคงต้องเข้มข้นและเข้มงวดมากขึ้น การติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิอัตโนมัติ (Thermoscan) 4 จุด ในสนามบินสุวรรณภูมิ และวางแอลกอฮอล์เจลให้ล้างมือกว่า 200 จุด อาจไม่เพียงพอ !?!

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2558

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

สพป.ปข. ๒ อบรมตามโครงการส่งเสริมศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้

766004.JPG

นายสุนาจ แก้วสุข ผอ.สพป.ปข. 2 เป็นประธานเปิดการอบรมตามโครงการส่งเสริมศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ จากนโยบายและกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการปฏิรูปการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนยุคใหม่ที่มีนิสัยใฝ่รู้ ตั้งแต่ปฐมวัย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัยและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ครู จึงนับว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ครูจะต้องมีการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆอยู่อย่างเสมอ ทั้งด้านหลักการ แนวทางและทฤษฎีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาครูภายใต้แนวทางการปฏิรูปการศึกษา นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจัดโครงการส่งเสริมศักยภาพพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการเรียนรู้ เพื่อมุ่งหวังจะพัฒนาครูที่ปฏิบัติการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวทางในการจัดการเรียนรู้ในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพให้ครูสามารถผลิตและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้การจัดการเรียนรู้ ตลอดจนนำนวัตกรรมการเรียนรู้ต่อยอดสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้อันจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนและความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีและเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น การอบรมครั้งนี้มีการกำหนดหลักสูตรการอบรมประกอบด้วย

1. มาตรฐานวิชาชีพครูที่ต้องรู้และเข้าใจ (มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ)

2. หลักเกณฑ์และวิธีการขอมีและขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

3. การเตรียมความพร้อมรับการประเมินด้านที่ 1 คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

4. การเตรียมความพร้อมรับการประเมินด้านที่ 2 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ ครู

5. การประเมินด้านที่ 3 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและผลงานทางวิชาการ ครู

6. การวิเคาระห์ผู้เรียนและการศึกษาสภาพการเรียนการสอน

7. การนำนวัตกรรมไปใช้และการเขียนรายงานผลการใช้/รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

8. ปัญหาของการทำผลงานทางวิชาการ

9. พบกลุ่มตามสาระการเรียนรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ

โดยมีคุณครูเข้าร่วมอบรม จำนวน 100 คน ในระหว่างวันที่ 27- 28 มิถนายน และ 4 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องประชุมสามพระยา ชั้น 3 สพป.ปข. 2 โดยได้รับเกียรติจากนางจุฑามาศ เจริญธรรม ข้าราชการบำนาญ อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ นายศุภวิชญ์ เจริญธรรม ผู้อำนวยการสถาบันศักยพัฒน์ และนายเอื้อม จันทร์สุโข ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเชี่ยวชาญ มาเป็นวิทยากร

27 มิถุนายน 2558

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

๘๓ ปี ประชาธิปไตย จุดยืนสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป

รักชีวิต รักษ์สิ่งแวดล้อม : “83 ปี” ประชาธิปไตย จุดยืนสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป : โดย…ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์

Read more…

Categories: Uncategorized

อับบาสกับชีวิตนักศึกษาไทยในปากีสถาน

เปิดโลกการศึกษามุสลิมตอนที่ 2 : “อับบาส”กับชีวิตนักศึกษาไทยในปากีสถาน

Read more…

สพฐ. ลงนามบันทึกการประชุมร่วมกัน (Minutes of Meeting) ด้านการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

763325.JPG

สพฐ. ลงนามบันทึกการประชุมร่วมกัน (Minutes of Meeting) ด้านการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดย ดร. กมล รอดคล้าย เลขาธิการ กพฐ. ลงนามบันทึกการประชุมร่วมกัน (Minutes of Meeting) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยชูโอ ประเทศญี่ปุ่น โดย Mr.Shozaburo Sakai President, Chuo University และองค์การความร่วมมือนานาชาติของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (JICA) โดย Mr. Shuichi Ikeda Chief Representative, Japan International Cooperation Agency Thailand Office ด้านการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อาคารราชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ตามที่ สพฐ. ได้จัดตั้งศูนย์บริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จำนวน 12 แห่ง โดยมีกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยผลักดันการยกระดับ คุณภาพนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาชาติได้ พร้อมทั้งได้มีความร่วมมือในการเรียนรู้ร่วมกันในห้องเรียน กับโรงเรียนชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นผ่านสถานทูตญี่ปุ่นและหน่วยงานด้านการศึกษาของญี่ปุ่น กับองค์การความร่วมมือนานาชาติของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (JICA) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่ม โรงเรียน Super Science High School จำนวน 14 โรงเรียน และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชูโอ (Chuo University) ยังได้ดำเนินการประสานผ่านองค์การความร่วมมือ นานาชาติของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (JICA) ในการเจรจาความร่วมมือเพื่อส่งนักศึกษาอาสาสมัครมาสอนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีให้กับครูสอนคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ในประเทศไทย พร้อมทั้งมหาวิทยาลัยชูโอ (Chuo University) ก็จะคัดเลือกและส่งนักศึกษาอาสาสมัครที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสอนให้กับครูโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ในช่วงประมาณเดือนตุลาคม 2558 โดยจำนวนขึ้นอยู่กับผู้สมัครที่เป็นอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น และจะมีการอบรมฝึกพูดภาษาไทยมาประมาณ 1 – 2 เดือน ก่อนเดินทางมายังประเทศไทย และจะเริ่มจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี เป็นแห่งแรก โดยองค์กรความร่วมมือนานาชาติของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (JICA) จะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณให้กับอาสาสมัครดังกล่าว เป็นระยะเวลา 2 ปี สำหรับข้อตกลงในบันทึกการประชุมร่วมกัน (Minutes of Meeting) ในครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีและภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นอันจะนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนต่อไปในอนาคต เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

22 มิถุนายน 2558

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพป.ระยอง เขต ๑ ประชุมเชิงปฏิบัติการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์

762428.jpg

20 มิ.ย. 58 นายชาญณรงค์ ฐานะวิจิตร รอง ผอ.สพป.ระยอง เขต 1 ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์ สพป.ระยอง เขต 1 ให้กับตัวแทนเครือข่ายสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนโรงละ 1 คน (รุ่นที่ 1) ภาครัฐ ได้แก่กลุ่มอำเภอเมือง จำนวน 42 คน, อำเภอปลวกแดง จำนวน 18 คน อำเภอบ้านฉาง จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น 74 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่กิจกรรมข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนผ่านทางเว็บไซต์ สพป.ระยอง เขต 1 ได้ด้วยตนเอง และเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพให้สูงขึ้น ผลการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ สร้างประโยชน์ให้กับผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างมากทำให้เกิดเครือข่ายในสถานศึกษา ซึ่งสามารถนำกิจกรรมเด่นของโรงเรียน สามารถ Upload ข้อมูลข่าวสารเพื่อเผยแพร่ได้ด้วยตนเองโดยผ่านช่องทาง website สพป.ระยอง เขต 1 เพื่อกระจายข่าวสารให้เผยแพร่ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้รับการเชื่อม Social network Group จากสถานศึกษาอีกด้วย ซึ่งไม่ทำให้พลาดโอกาสในการติดต่อข้อมูลข่าวสารฯ โดยมีนายเปรมชัย ปิยวณิชสกุล ครูผู้ช่วย ร.ร.วัดหนองพะวา (Webmaster ระยอง เขต 1)โดยมีนางกัญจนา สุมงคล ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมหลวงพ่อเสียนมีสบาย

20 มิถุนายน 2558

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพป.ปข. ๒ จัดกิจกรรมโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิต ประจำปี ๒๕๕๘

763743.jpg

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 นายสมสันต์ ลือกำลัง รอง ผอ.สพป.ปข. 2 เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดกิจกรรมโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิต ประจำปี 2558 จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2555 พบว่าการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั่วโลก เสียชีวิต 135,585 คน เฉลี่ยวันละ 372 คน ส่วนสถิติในประเทศไทยเด็กในอายุดังกล่าวจะเสียชีวิตทุกสาเหตุ สำหรับช่วงเวลาที่เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุดจะเป็นเดือนเมษายน โดยมีสถิติสูงถึง 182 คน รองลงมาจะเป็นเดือนมีนาคม 148 คน และเดือนพฤษภาคม 131 คน และเด็กที่มีกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดอยู่ระหว่างอายุ 1 – 9 ปี จากเหตุดังกล่าว จึงจำเป็นต้องให้เด็กกลุ่มเสี่ยงได้ฝึกหัดว่ายน้ำ หรือ ว่ายน้ำเป็นและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดกิจกรรมภาคฤดูร้อนว่ายน้ำเพื่อชีวิต เป็นนโยบายในการป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำ และเสริมสร้างความปลอดภัยทางน้ำให้กับนักเรียน เป็นการเพิ่มพูนทักษะในการว่ายน้ำให้แก่นักเรียน สามารถช่วยเหลือตนเองให้ปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ โดยจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 4 อำเภอ จำนวนนักเรียนเป้าหมายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 200 คน แบ่งเป็นจุดอบรมละ 50 คน ดังนี้ จุดที่ 1 อำเภอหัวหิน จัดที่สระว่ายน้ำสวนน้ำแบล็คเมาน์เทน หัวหิน

จุดที่ 2 อำเภอปราณบุรี จัดที่สระว่ายน้ำโรงเรียนบ้านตำหรุ

จุดที่ 3 อำเภอสามร้อยยอด จัดทีสระว่ายน้ำโรงเรียนบ้านพุน้อย

จุดที่ 4 อำเภอกุยบุรี จัดที่สระว่ายน้ำโรงเรียนก็พัฒนา

23 มิถุนายน 2558

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

พัทลุง ๒ รับการตรวจติดตามจาก สพฐ.

763741.jpg

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 คณะ สพฐ.ออกติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามจุดเน้น สพฐ. ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2558 โดยติดตามผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ของโรงเรียน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 23 (วัดโคกโหนด) และโรงเรียนวัดชุมประดิษฐ์ ซึ่งหัวข้อติดตามได้แก่นโยบายที่สำคัญ ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการและสพฐ.ด้าน 1) การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง 2)การเสริมสร้างค่านิยมหลัก 12 ประการ 3)การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ส่วนโรงเรียนไทยรัฐวิทยาติดตามเพิ่ม 2 ประด็น คือ โครงการหลักสูตรสื่อสารมวลชนและโครงการความเป็นพลเมืองดี คณะกรรมการติดตามประกอบด้วย

1) นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ที่ปรึกษา สพฐ.

2) นางรัสรินทร์ ชุติวิบูลฉัตร รอง ผอ.สำนักติดตามประเมินผล

3) นายอนิวัฒน์ บัวผาย สำนักติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พจนาถ ช่วยเนื่อง ภาพ/ข่าว

23 มิถุนายน 2558

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ยะลา ๒ มอบข้าวสาร อาหารกลางวันเพื่อน้องชายแดนใต้

762928.JPG

เร็วๆนี้ ( 19 มิ.ย.58) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 จัดกิจกรรมมอบข้าวสารเพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ด้วยความอนุเคราะห์จากคุณศกสิริ วัฒนโสภณวงษ์ และญาติธรรม ร่วมกันบริจาคข้าวสารจำนวน 300 กว่ากระสอบ เพื่อมอบให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 จำนวน 68 โรงเรียน ทั้ง 3 อำเภอ ได้แก่ ยะหา กาบัง และบันนังสตา นำไปเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน ทั้งนี้พิธีมอบข้าวสารเพื่ออาหารกลางวันได้จัดพิธีมอบพร้อมกันทั้ง 3 อำเภอ โรงเรียนสังกัดในอำเภอบันนังสตา ได้รับเกียรติจากนายสนั่น สนธิเมือง นายอำเภอบันนังสตา เป็นประธานในการมอบข้าวสาร ส่วนโรงเรียนในสังกัดอำเภอยะหามีนายรัชวุฒิ วงษ์เสนา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษษประถมศึกษายะลา เขต 2 เป็นประธานในการมอบฯ และโรงเรียนสังกัดอำเภอกาบัง มีนายวิธาน สุชาติพงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 เป็นประธานในการมอบข้าวสาร

22 มิถุนายน 2558

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

๗๑ทีมเกาะติดสงสัยติดเชื้อเมอร์ส

กทม.เปิดแผนรับมือ “เมอร์ส” จัดทีมเกาะติดผู้ต้องสงสัย เน้นกลุ่มนักเรียน – แรงงาน – นักท่องเที่ยว เดินทางไปกลับประเทศเสี่ยง ห่วงติดเชื้อไม่รู้ตัว

Read more…