Archive

Archive for the ‘คณิตศาสตร์’ Category

นิทานคณิตศาสตร์ คอกหมูเจ้าปัญหา

นิทานคณิตศาสตร์เรื่องคอกหมูเจ้าปัญหา สำหรับสอนนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ค่ะ

Read more…

การคำนวณเบื้องต้น เป็นคลิปวีดีโอ สอนเข้าใจมาก

แชร์ครับแชร์ ใครเรียนคณิตศาสตร์ไม่รู้เรื่อง แนะนำให้ดูคลิปวีดีโอตัวนี้เลย สอนเข้าใจมากๆ สรุปเนื้อหาในส่วนการคำนวณเบื้องต้น ที่เป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญมากๆในทั้ง ม.ต้น และ ม.ปลายเลย ถ้ายังไม่แน่น ยังทำไม่ได้ ไม่เป็นไร ดูคลิปชุดนี้แล้วคุณจะแรงแซงใครครับ

Read more…

รับตรง ม.เกษตรศาสตร์ 17 เมษายน 2556

April 22, 2013 1 comment

หลังจากหมดเขตส่งใบสมัคร Admisssions กลางไปแล้ว ยังมีโครงการรับตรงของ ม.เกษตร อีก 2 โครงการมาไว้เผื่อเลือกกันนะครับ เผื่อใครสนใจทั้งสองโครงการ ลองดูรายละเอียดดูนะครับ

Read more…

เด็กเก่งทำคะแนน O-Net เต็มร้อย

April 5, 2013 1 comment

นายสมเจษฎ์ ศรีสมจักร์ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต19 เลย-หนองบัวลำภู เปิดเผยว่า ด.ญ.พิชญ์นรี ก้านลำภู หรือ“น้องเชลซี” อายุ 12 ปี นักเรียนชั้น ป.6/1 โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม อ.ภูกระดึง จ.เลย สอบ O-Net วิชาภาษาอังกฤษได้คะแนน 100 เต็ม แล้วจึงไปไปไต่ถามความเป็นจริงที่โรงเรียนดังกล่าวข้างต้น

 

ด.ญ.พิชญ์นรี เล่าว่า ก่อนสอบวางเป้าไว้แค่ 90 คะแนน แต่เมื่อเจอข้อสอบที่ได้มาทำกลับง่าย อาจเป็นเพราะเตรียมมาดี อ่านหนังสือทบทวนสิ่งที่คุณครูสอน และพยายามทำแบบฝึกหัด หรือข้อสอบเก่าบ่อยๆ โดยส่วนตัวแล้วชักจะถูกใจภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เพราะเรียนรู้แล้วสนุก อีกทั้งมีคุณลุงที่ทำงานอยู่ต่างประเทศคอยสอนและให้การส่งเสริมเต็มแรง ขณะเดียวกันครูวิชาภาษาอังกฤษในชั้นเรียนก็เก่ง บรรยายให้เข้าใจบทเรียนได้ง่าย แถมยังช่วยสอนพิเศษหรือติวให้อีกด้วย สำหรับการเรียนต่อชั้น ม.1 ตอนนี้ได้เลือกเรียนที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย เพราะชอบวิชาวิทยาศาสตร์ และในอนาคตอยากประกอบอาชีพเป็นครู

 

นางวิภาพรรณ กิ่งมณี ครูประจำชั้นของน้องเชลซี พูดว่า น้องเชลซี เป็นเด็กขยันเรียน หัวไว สามารถทำแบบฝึกหัด หรือตอบคำถามวิชาภาษาอังกฤษได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งตั้งแต่น้องเชลซีโยกย้ายมาเรียนที่โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม ยังไม่เคยเห็นขาดเรียนแม้แต่วันเดียว

 

มีนักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช มีผลการสอบ O-Net ในวิชาคณิตศาสตร์ได้ 100 คะแนนเต็ม จากการตรวจทานทราบว่า เด็กเก่งคนดังกล่าวคือ ด.ช.สรชัช แปะเจง อายุ 12 ปี นักเรียน ป.6 โรงเรียนวัดนากุน ซึ่งเป็นโรงเรียนในชานเมืองไกลความเจริญ อยู่บ้านเลขที่ 128 หมู่ 7 ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา

 

ถัดจากนั้นเหยี่ยวข่าวได้เดินทางไปยังที่อยู่อาศัยของ ด.ช.สรชัช เมื่อไปถึงก็พบกับ ด.ช.สรชัช นั่งอยู่กับ นายสงัส แปะเจง อายุ 51 ปี และ นางวรรณี แปะเจง อายุ 48 ปี พ่อและแม่ ซึ่ง ด.ช.สรชัช หยิบยกเทคนิคการศึกษาเล่าเรียน ว่า ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ตั้งใจเรียน และฟังการสอนของครูในห้องเรียนอย่างคร่ำเคร่ง หากมีข้อสงสัยไม่รู้เรื่องก็จะสอบถามครูผู้สอนให้อธิบายซ้ำจนเข้าใจ สำหรับในการสอบโอเน็ตครั้งที่ผ่านมาก็แน่ใจในการทำข้อสอบเกือบทุกวิชา โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์มั่นใจว่าน่าจะถูกเกือบหมดทุกข้อ แต่ไม่คิดว่าจะถูกหมด เมื่อทราบว่าได้ 100 คะแนนเต็มก็ดีใจมาก และในอนาคตอยากเป็นหมอรักษาคนไข้

 

ด้าน นายสงัส แสดงตัวว่า มีการทำมาหากินทำสวนยางพารา มีบุตรทั้งหมด 3 คน ด.ช.สรชัช เป็นลูกคนสุดท้อง ทั้งนี้ลูกเป็นเด็กขยันเรียน และชอบสอบถามปัญหา ในบางครั้งตนจะต้องหาผู้รู้มาขยายความชี้แจงข้อคำถามของบุตรชายจนเข้าใจ ขณะที่ นางบัณฑิตา ชูปู ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้น ป.5-ป.6 โรงเรียนวัดนากุน กล่าวว่า ด.ช.สรชัช เป็นเด็กนิสัยดี ขยันเรียนหนังสือ นอกจากวิชาคณิตศาสตร์แล้ว ด.ช.สรชัช ยังเรียนเก่งเกือบทุกวิชา โดยที่ไม่ต้องไปเรียนพิเศษตามสถาบันกวดวิชาแต่อย่างใด

 

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ภาพรวมของการสอบ O-Net ในครั้งนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 โรงเรียนวัดนากุน ได้ลำดับที่ 2 จากโรงเรียนทั้งหมด 144 โรง ส่วน ด.ช.สรชัช ได้สมัครสอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด ในขณะที่นักเรียนที่จบชั้น ป.6 โรงเรียนวัดนากุน รุ่นเดียวกับ ด.ช.สรชัช สามารถสอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศได้ 1 คน และสอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชได้ 5 คน ซึ่งทุกคนทำคะแนนสอบได้เป็นลำดับต้นๆ ซึ่ง ด.ช.สรชัช สอบได้ในลำดับที่ 8.

 

นอกจากนี้ยังมีเด็กเก่งจากจังหวัดพัทลุง ที่สามารถทำคะแนน โอเน็ต ป.6 เต็ม 100 คะแนน ใน 2 รายวิชา จำนวน 12 คน

รายชื่อ นร.ที่มีคะแนนผลการสอบ O-Net ปีการศึกษา 2555 สพป.พัทลุง เขต 1 คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใน 2 วิชา จำนวน 12 คน ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาล

วิชา คณิตศาสตร์

1.เด็กชายธนฤต ชูสวัสดิ์ โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

2.เด็กหญิงพิชญ์สินี บัวแก้ว โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

3.เด็กชายศุภกิตติ์ จันทร์เทพ โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

4.เด็กชายศุภชัย พวงพวา โรงเรียนวัดอภยาราม

5.เด็กชายรัตนภัทร อินมณเทียร โรงเรียนวัดตะแพน

วิชา ภาษาอังกฤษ

1.เด็กหญิงกัลยกร ตันสุริยวงศ์ โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

2.เด็กหญิงชนิกานต์ แก้วแฝก โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

3.เด็กหญิงพชรมน เพชรมาก โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

4.เด็กหญิงพีรดา ฐิตินันท์ โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

5.เด็กหญิงอ้อมฟ้า สุวรรณพงศ์ โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

6.เด็กชายอันดามัน สายสีทอง โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

7.เด็กชายจุมพล งามแท้ โรงเรียนอนุบาลพัทลุง

เรียนคณิตศาสตร์ออนไลน์ กับ Dektalent.com ในรูปแบบคลิปวีดีโอ 24Hr เลือกเรื่อง เลือกบทเรียนเองได้ เก่งจากที่บ้าน ไม่ต้องเดินทาง เวกเตอร์ จำนวนจริง เรขาคณิตวิเคราะห์ ความน่าจะเป็น อัตราส่วนตรีโกณมิติ ภาคตัดกรวย

ประวัติของ Pierre de Fermat

March 27, 2013 1 comment

ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ (Pierre de Fermat)

มีชีวิตอยู่ในช่วง 1601-1665

Pierre-De-Fermat

ประวัติของปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์

Fermatเกิดใกล้เมือง Toulouse ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1601 และเสียที่เมือง Castres ในปี 1665 คุณพ่อเป็นพ่อค้าเครื่องหนัง ในวัยเด็กเรียนอยู่กับบ้าน Pierreมีงานการเป็นนิติกร เมื่ออายุ 30 ปี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แนะนำกฎหมายขององค์กรดำเนินงานส่วนเขตของเมือง Toulouse ท่านได้ใช้เวลาว่างศึกษาค้นคว้าคณิตศาสตร์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเยี่ยมเยียนกับนักคณิตศาสตร์ที่มีเกียรติในเวลานั้น ท่านมีส่วนในการปฏิรูปคณิตศาสตร์ในหลากหลายสาขา นับได้ว่าเป็นนักคณิตศาสตร์สมัครเล่นที่มีคำเลื่องลือที่สุด

ผลงานของ Pierre de Fermat

1. เริ่มต้นปรับปรุงเรขาคณิตวิเคราะห์ ในระยะเวลาใกล้กันกับเดส์การ์ตส์
2. บุกเบิกวิธีหาเส้นสัมผัสเส้นโค้ง หาค่าสูงสุดและต่ำสุดของฟังก์ชัน
3. เริ่มต้นปรับปรุงทฤษฎีความน่าจะเป็นร่วมกับปาสกาล
4. พัฒนาทฤษฎีบทต่าง ในทฤษฎีจำนวน เช่น

Fermat’s two square theorem:

ทุกจำนวนเฉพาะในรูป 4n+1 สามารถเขียน ในรูปผลบวกของจำนวนเต็มยกกำลังสองได้คู่หนึ่งและคู่เดียวเท่านั้น

ทฤษฎีบทต่าง ในทฤษฎีจำนวน:

ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะและ n เป็นจำนวนเต็มบวก จะได้ว่า p หาร np – n ลงตัว

เรียนคณิตศาสตร์ออนไลน์ กับ Dektalent.com ในรูปแบบคลิปวีดีโอ 24Hr เลือกเรื่อง เลือกบทเรียนเองได้ เก่งจากที่บ้าน ไม่ต้องเดินทาง ความน่าจะเป็น อัตราส่วนตรีโกณมิติ ภาคตัดกรวย เวกเตอร์ จำนวนจริง เรขาคณิตวิเคราะห์

 

สัมภาษณ์น้องพีชสอบ O-Net ได้เต็ม

March 25, 2013 1 comment

“กิตติภูมิ ทศพรพงศ์ หรือพีซ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย” หนึ่งในนักเรียนผู้พลิกประวัติศาสตร์ O-NET ม.6 ประเทศไทยปี 2555 ที่สามารถทำคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งถือว่าสูงสุดของประเทศ โอ้วววว งานนี้เขาจะกินอะไรเป็นอาหาร ชาติที่แล้วทำบุญด้วยเครื่องคิดเลขหรือไม่ และมีการเตรียมสอบยังไงถึง “เก่งเทพ” ขนาดนี้ วันนี้เว็บเด็กดีไปคว้าตัวมาสัมภาษณ์แล้วครับ

skboy

 

ตอน สทศ.ประกาศผล O-NET ทำอะไรอยู่ ?

ตอนนั้นผมกำลังนอนหลับอยู่ครับ นอนอยู่ดีๆ คุณแม่ก็เข้าปลุกแล้วบอกว่า “โอเน็ตประกาศแล้วนะ” ตอนนั้นตื่นเต้นมาก น้ำไม่อาบ ฟันไม่แปรง เปิดคอมพิวเตอร์เช็คผลทันที วินาทีตอนนั้นก็ค่อนข้างลุ้นครับ ในหัวคิดอยู่ตลอดว่าคะแนนรวมโอเน็ตทั้ง 5 วิชาหลักของเรา จะต้องผ่านเกณฑ์ 60% ของ กสพท.หรือเปล่าครับ แต่พอเปิดผลออกมา ก็โล่งเลยครับ

คิดไหมว่าตัวเองจะได้ 100 คะแนนเต็ม ?

555 ผมสารภาพตามตรงๆ ก็มีแอบคิดไว้บ้างครับ แต่ก็ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะมีข้อที่เป็นทฤษฎีบท ผมไม่ค่อยมั่นใจในเนื้อหาเท่าไหร่ แต่พอรู้ว่า ตัวเองได้ O-NET คณิตศาสตร์เต็ม ก็แบบดีใจมากครับ ตาสว่างเลย พอทางครอบครัวรู้ว่าผมได้คะแนน 100 คะแนนเต็ม คุณพ่อคุณแม่ก็มาแสดงความดีใจกับผมครับ เพื่อนๆ ก็มาแสดงความยินดีกับผม ทั้งโทรศัพท์ และ Facebook เต็มไปหมด มีการแซวให้ผมพาไปเลี้ยงข้าวด้วย = =” 555 เนื่องจากผมจะได้เงินรางวัลจากทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 10,000 บาทครับ

มีเคล็ดลับในการทำข้อสอบ O-NET คณิตศาสตร์ยังไงบ้าง ?

ข้อสอบ O-NET คณิตศาสตร์ เขาเน้นความแม่นยำในทฤษฎีบทครับ ห้ามทำแต่โจทย์โดยไม่อ่านเนื้อหาครับ ส่วนการเตรียมตัวผมขอแบ่งเป็น 3 สเต็ปดังนี้ก็คือ……
  1.ต้องดูว่า O-NET ในปีก่อนๆ และปีนี้เน้นออกเรื่องอะไรบ้าง
  2.อ่านเนื้อหาให้ครบถ้วนในแต่ละบท รวมถึงทำโจทย์ในบทนั้นๆ
  3.จับเวลาทำข้อสอบ O-NET เก่า ย้ำว่าต้องจับเวลานะครับ
เมื่อทำครบทั้ง 3 ข้อ เราก็มาสังเกตดูว่าบทไหนที่เรายังไม่แม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทฤษฎีบท หรือว่าทางด้านเทคนิคต่างๆ ก็ให้ไปปรับปรุงพัฒนาในบทนั้นๆ ครับ

ทำข้อสอบเก่า O-NET สำคัญมากไหม ? เรียนพิเศษบ้างเปล่า ?

สำคัญที่สุดเลยครับ ผมจะบอกว่าการทำข้อสอบเก่ามีประโยชน์มาก คือ 1.ช่วยฝึกทางด้านความเร็วในการทำข้อสอบ 2.เราจะรู้จุดด้อยจุดอ่อนของเราว่าบทนี้เราอ่อน ควรเพิ่มควรเน้นตรงไหน และ 3.เราจะสามารถประเมินตนเองได้ ส่วนการเรียนพิเศษนั้นก็มีเรียนบ้างครับ เรียนเก็บมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ขึ้น ม.ปลาย ก็มีของโอพลัส อ.โต้ง อ.สมัย และ อ.ทนงศักดิ์ แต่หลักๆ ก็จะเน้นตะลุยโจทย์ตามสูตรที่บอกครับ

(อย่าด่าพี่นะ หากจะถามคำถามนี้)

หากไปสอบคณิต แล้วเกิดทำข้อสอบไม่ได้ มีเทคนิคการเดายังไงครับ ?

5555 แหม ก็ต้องมีบ้างแหละครับ ที่ทำข้อสอบไม่ได้ สำหรับผมมี 2 วิธีครับ 1.ตัดข้อที่เป็นไปไม่ได้ออกครับ 2.ข้ามไปก่อน-ทำข้อสอบทั้งหมดให้เสร็จ-ตรวจทานอย่างละเอียด-ดูว่า Choiceไหนเราตอบน้อยที่สุด ฝนลงไปเลยครับ 555+ ปล.แอบบอก ผมใช้วิธีที่ 2 อิอิ สำหรับอัตนับเติมคำหากทำไม่ได้จริงๆ ไม่ฝน 1 ก็ 2 อะครับ อิอิ

ฝากอะไรถึงเพื่อนๆ ชาวเด็กดีที่อ่านบทความนี้อยู่หน่อย

ไม่ว่าคะแนนเพื่อนๆ จะดีหรือไม่ดีอย่างไรก็ตาม ก็ขอให้เพื่อนๆ สู้ต่อไปนะครับ เลือกคณะดีๆ มีที่เรียนแน่นอน สำหรับน้องๆ ที่จะ Admissionปีหน้าก็ขอให้น้องวางแผนชีวิตของน้องได้แล้วนะครับ ทั้งด้านการอ่านหนังสือ การไปสอบตรงที่ต่างๆ การไปโรงเรียน ฯลฯ ติดตามข่าวให้ดี แล้วมุ่งมั่นตั้งใจให้เต็มที่ แล้วน้องจะภูมิใจในผลคะแนนที่ออกมาซึ่งเกิดจากหยาดเหงื่อของน้องเอง โชคดีนะครับ

บอกได้คำเดียวครับว่า “อิจฉามากกกกกกกกกกกก” อยากจะยืมคะแนนที่เกินเกณฑ์ กสพท.มาจังเลย เอาเป็นว่า พี่ลาเต้ และเว็บไซต์เด็กดีดอทคอมก็ขอแสดงความชื่นชมน้องพีซ ที่มุมานะมีวินัยกับตัวเองจนคว้า 100 คะแนนเต็มจาก O-NET คณิตมาได้ นอกจากนี้ก็ขอแสดงความยินดีที่สามารถสอบตรงติด วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า(ชาย) ผ่านระบบ กสพท.อย่างเต็มตัวด้วยนะครับ จากวันนี้นับไปอีก 6 ปีประเทศเราจะมีแพทย์ทหารที่ขึ้นชื่อว่าเก่งเลขที่สุดครับ เย้ เย้

นอกจาก น้องพีช แล้ว ยังมีน้องอีกหนึงคนที่ทำคะแนน O-NET ม.6 คณิตเต็ม 100 คะแนน นั้นคือ นายพงษ์เทพ เสนานุช ม.6 จากโรงเรียนเลยพิทยาคม จ.เลย ซึ่งตอนนี้ได้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบร้อยแล้ว เก่งมากๆ ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ข้อสอบลำดับอนุกรม สมการพหุนาม ตรรกศาสตร์ เลขยกกำลัง

11 เหตุผลที่ต้องกวดวิชา

November 30, 2010 1 comment

ท่านผู้อ่านเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเด็กมัธยมไทยถึงใช้เวลาว่างไปในการกวดวิชากันค่อนข้างมาก บางครั้งเมื่อเลิกเรียนตอนบ่ายแล้วก็ต้องรีบไปสยามให้ทันคอร์สกวดวิชา ฟิสิกส์ เสร็จแล้วก็รีบไปเรียนต่อคอร์สคณิตศาสตร์ที่อีกตึกนึงซึ่งห่างออกไปเกือบกิโล ทำเช่นนี้ซ้ำๆเป็นกิจวัตรประจำวัน บางครั้งมากกว่า 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งอันนี้ยังไม่รวมวันเสาร์อาทิตย์ที่บางคนถึงขั้นต้องออกไปเรียนกันตั้งแต่เช้ายันมืดเลยทีเดียว

ทั้งๆที่เด็กหลายๆคน ก็ไม่ได้เรียนย่ำแย่อะไร กลับกัน เด็กหลายๆคนที่กวดวิชากันหนักๆนั้นเป็นกลุ่มท้อปของห้องเสียด้วยซ้ำ และตรงกันข้าม เด็กที่ไม่เอาดีทางด้านการเรียน (ที่หลายคนเรียกว่าเด็กเกเร) ก็แทบจะไม่กวดวิชากันเลย มันเกิดอะไรขึ้นกัน มาลองดูเหตุผลที่ต้องเรียนกวดวิชาที่ผมได้รวบรวมมาจากหลายๆที่นะครับ

1. ไม่ชอบครูผู้สอน
2. เรียนในห้องเรียนไม่รู้เรื่อง
3. เรียนในห้องเรียนไม่ทันเพื่อน
4. เรียนทันเพื่อนอยู่แล้ว แต่กลัวเพื่อนจะแซง
5. เรียนได้ที่ 1 ของโรงเรียนอยู่แล้ว แต่อยากเก่งกว่าที่ 1 ของโรงเรียนอื่น
6. มาตรฐานแต่ละโรงเรียนต่างกัน
6. อยู่บ้านเฉยๆบางทีก็เบื่อ
7. กวดวิชาได้เจอเพื่อนใหม่ๆ
8. ผู้ปกครองให้ไปเรียน
9. มีความเชื่อว่าเรียนเยอะไว้ก่อนได้เปรียบ
10. เรียนตามเพื่อน
11. ต้องการสูตรลัดที่โรงเรียนไม่สอน

จริงๆแล้ว มีเหตุผลมากกว่านี้อีกเยอะนัก แต่ส่วนมากก็จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกันคือ เรียนเพราะอยากเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คณะที่มีชื่อเสียง ที่จำกัดปริมาณของผู้เข้าเรียน ประเภทว่าคนสมัครเป็นหมื่นแต่รับได้ร้อยคน จึงทำให้เกิดการแข่งขันสูงมาก การอยู่เฉยๆ หรือเรียนแค่วันละ 6 ชั่วโมงตามหลักสูตร ย่อมไม่เพียงพอต่อการแข่งขันแน่นอน ยิ่งเพื่อนๆที่เป็นคู่แข่ง เรียนเอาๆ ซึ่งเปรียบได้กับม้าแข่งที่ จ้ำไม่หยุด แล้วเราจะมามัวเป็นม้าแข่งที่จ้ำๆหยุดๆได้อย่างไร

ในบางครั้งการเรียนกวดวิชามาราธอนมากเกินไป แทนที่จะส่งผลดี กลับส่งผลร้ายให้กับตัวผู้เรียนอย่างจัง นอกจากเรื่องสุขภาพแล้ว ส่วนที่สำคัญอย่างนึงคือ มันจะไม่รู้จริง เนื่องจากโครงสร้างสมองของมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงอายุ 14-17 ปี มักจะมีสมาธิที่สามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ประมาณไม่เกิน 30 นาที แล้วแต่บุคคล หากมากกว่านั้นแล้ว จะเกิดอาการ สมาธิหลุด เอาดื้อๆได้ ซึ่งไม่ส่งผลดีแน่ๆ อุตส่าห์มาเรียนกวดวิชาเพราะว่าเรียนตามเพื่อนไม่ทัน แต่ดันมาสมาธิหลุดในโรงเรียนกวดวิชาทำให้ตามเพื่อนที่กวดวิชาไม่ทันอีก วิธีแก้ปัญหานี้ไม่ยาก แต่บางครั้งสภาพแวดล้อมก็ไม่เอื้ออำนวยนัก วิธีที่ว่านี้คือ พักเบรค สัก 10-20 นาที เพื่อให้สมองหายล้า และกลับมาพร้อมเรียนต่ออีกรอบนึง วิธีนี้สามารถเอาไปใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่จำกัดเฉพาะกับการเรียนกวดวิชากันนะครับ

เขียนไปเขียนมาชักออกทะเล ขอจบไว้เท่านี้ก่อนล่ะกันครับ

เคล็ดลับวิธีเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง

November 1, 2010 Leave a comment

จะมีวิธีการเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่งอย่างไร มาศึกษาวิธีดูกันนะค่ะ

เคล็ดลับวิธีเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง

เป็นที่สงสัยกันว่าเด็กที่เก่งวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนมากได้จากพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่เกิด หรือพรแสวงที่ขยันทุ่มเท คำตอบคือ จำเป็นทั้งสองอย่าง ถึงแม้ว่าเด็กที่มีพรสวรรค์ ก็ไม่สามารถเรียนคณิตศาสตร์เก่งได้หากขาดพรแสวง เพราะคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยชั่วโมงบิน ผ่านการทำโจทย์คณิตศาสตร์มาอย่างโชกโชนถึงจะเรียนเก่งได้ ในทางกลับกัน หากเด็กที่ขยันทุ่มเท แต่ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ จับสูตรนู้นมาใส่สูตรนี้ ถึงแม้ว่าจะทำโจทย์พื้นฐานได้ แต่ถ้าเจอโจทย์พลิกแพลงก็ไปไม่รอดเหมือนกัน ในวันนี้มีเคล็ดลับวิธีเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง มาดูกันครับ

เคล็ดลับเก่งคณิตศาสตร์

1. ไม่มองข้ามนิยามต่างๆ
ถึงแม้ว่าจะอ่านนิยามต่างๆเป็นสิบรอบแล้วก็ยังงงเหมือนเดิม ก็ต้องทำความเข้าใจกับมันอยู่ดี เพราะมันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคณิตศาสตร์ สูตรทุกสูตรไม่ว่าจะเป็นสูตรมาตรฐานหรือสูตรลัด ต่างคิดขึ้นมาจากนิยามทั้งนั้น หากรู้นิยามแล้ว หากไม่มีสูตรก็สามารถแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ หรือแม้กระทั่งคิดสูตรลัดส่วนตัวขึ้นมาเอง ก็ย่อมได้

2. เข้าใจทฤษฎีบท สูตร หรือสมบัติต่างๆ และพลิกแพลงใช้ให้เป็น
ทฤษฎี บท สูตร หรือสมบัติต่างๆ นั้นคือสิ่งเดียวกัน ซึ่งหมายถึงข้อเท็จจริงที่ต้องมีการพิสูจน์และยอมรับว่าเป็นจริง จึงจะนำมาใช้ได้ ซึ่งต่างจากบทนิยามเพราะบทนิยามเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นมาให้ยอมรับร่วมกันโดย ไม่ต้องพิสูจน์
หลายคนเรียนคณิตศาสตร์ไม่เข้าใจเพราะเป็นกังวลกับการท่องจำสูตร ซึ่งแท้จริงแล้วการจำสูตรหรือทฤษฎีได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องรอง แต่เรื่องหลักที่ต้องให้ความสำคัญก่อนจะเริ่มจำสูตรคือ จะต้องเข้าใจว่า ทฤษฎีบทนี้ใช้เมื่อใด? และใช้อย่างไร?

3. ท่องจำบ้างในบางโอกาส แต่เอาเฉพาะที่จำเป็น
อย่างน้อยๆก็ต้องจำนิยามหรือสูตรเบื้องต้นต่างๆ โดยควรจำอย่างมีเทคนิคและเป็นระบบ อย่าจำวิธีแก้สมการ เพราะถ้าเจอโจทย์ที่ถามอย่างอื่นมาแล้วจะถึงขั้นไปไม่เป็นเลยทีเดียว

4. ฝึกทำโจทย์บ่อยๆ
การฝึกทำโจทย์บ่อยๆนั้นใช้ได้ในชีวิตจริงและในวิชาเรียนทุกๆวิชา โดยเฉพาะวิชาทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ถ้าหมั่นฝึกฝนบ่อยๆ จะช่วยให้จำน้อยลง เพราะเทคนิคหรือนิยามต่างๆจะถูกฝังเข้าไปในหัวเราแบบอัตโนมัติ แบบที่ไม่ต้องท่องก็จำได้ แล้วการแก้ปัญหาโจทย์มากๆ ยังช่วยให้ความสามารถในการแก้ปัญหาของเราสูงขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่ในเรื่องการเรียน แต่รวมถึงเรื่องทั่วๆไปในชีวิต ที่เราสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้นด้วย

5. เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
โดยส่วนมากแล้ว แต่ละปัญหาจะมีวิธีแก้หลายวิธี และนักแก้ปัญหาที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่น สามารถมองถึงว่ามีกี่วิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และดึงวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาใช้ จะทำให้เกิดผลสำเร็จสูงสุด

6. ฝึกวินัย
นอนให้ตรงเวลา เข้าเรียนให้ตรงเวลา ทำการบ้านทุกวัน อย่าผลัดวันประกันพรุ่งโดยคิดว่าอ่านวันหลังก็ได้ ทำทีหลังก็ได้ เพราะว่ามันจะทำให้ติดเป็นนิสัย แล้วจนแล้วจนรอดที่ผลัดไว้ก็ไม่ได้ทำสักที หรือไม่ก็มาทำเอาวันสุดท้ายหลายๆงาน ทำให้งง ความรู้ตีกันวุ่น จนสุดท้ายก็เกิดความคิดว่า รู้งี้ทำซะตั้งแต่วันแรกแล้ว

เคล็ดลับวิธีเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่งนี้ หวังว่าจะเป็นบทความที่เป็นประโยชน์กับน้องๆ ให้นำไปใช้กันเพื่อที่จะทำให้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้เก่งถึงขั้นลึกซึ้งกัน นะครับ ถ้าหากทำครบทุกข้อแล้ว อย่าเอาแค่เก่งเลย น้องๆสามารถสมัครเป็นตัวแทนไปแข่งคณิตศาสตร์โอลิมปิกได้ด้วยซ้ำครับ

เรียนคณิตศาสตร์ ให้รู้เรื่อง

September 28, 2010 Leave a comment

คนจำนวนไม่น้อยเมื่อได้ยินคำว่าคณิตศาสตร์ มักจะนึกถึงตัวเลขที่ยุ่งยาก หรือสูตรคำนวนที่น่าเบื่อ บ้างก็ส่ายหน้าไม่อยากพูดถึง บ้างก็บอกว่าเป็นอะไรที่ไม่อยากเข้าใกล้ แต่อย่างไรก็ตาม ในเมื่อน้องๆนักเรียน ม.ปลายทุกคน จำเป็นต้องสอบแอดมิชชั่นแล้ว จึงไม่มีใครหนีไปไกลจากคณิตศาสตร์ได้เลย

ส่วนใหญ่คนที่บอกว่าตัวเองไม่รู่เรื่องวิชาคณิตศาสตร์ อึ้งเวลาเจอโจทย์ ทำโจทย์ไม่เป็น จะมาจากการเรียนที่ผิดวิธีครับ หากไม่เข้าใจส่วนไหนของวิชาคณิตศาสตร์ ให้ลองถามตัวเองว่า เราเข้าข่ายข้อใดต่อไปนี้บ้าง

(1) ไม่ตั้งใจเรียน
(2) ไม่เก็ทในสิ่งที่อาจารย์สอนเลยสักนิด
(3) หลับในห้องเรียน
(4) เข้าใจตัวอย่างที่อาจารย์สอน แต่พอมาทำโจทย์เอง ก็ทำไม่ได้ ไม่รู้ทำไม
(5) ตอนเรียนอาจจะรู้เรื่อง แต่พอจบคาบแล้ว ก็คืนความรู้ให้อาจารย์ไปหมด

หากเข้าข่ายหลาย หรือถึงขั้นครบทุกข้อ ก็หมายความว่า วิธีการเรียนของตัวเองนั้น ยังไม่ใช้วิธีที่ถูกนัก วิธีแก้ก็คือให้ดูว่าเราขาดตรงไหน แล้วแก้ตรงนั้น จะเป็นวิธีแก้ที่ง่ายที่สุด ทีนี้พอเริ่มจะเข้าใจในบทเรียนแล้ว การจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีหรือไม่ดี มันก็ขึ้นอยู่กับชั่วโมงบินของเราด้วย ซึ่งก็คือการได้ลองทำโจทย์ดูด้วยตัวเอง ไม่ใช่ว่านั่งดูอาจารย์แสดงให้ดูบนกระดานอย่างเดียว ยิ่งเราทำโจทย์ที่เยอะและหลากหลาย จะยิ่งได้เปรียบ เพราะการคำนวน ความแม่นยำในการทำโจทย์นั้น ดูอย่างเดียว ไม่ได้มาแน่ๆ

ให้ดาว์นโหลดข้อสอบเก่ามาลองทำดู ข้อไหนทำไม่ได้ก็ลองไปเปิดดูเฉลย หรือดูพวกเวบ ติวคณิตศาสตร์ออนไลน์ ก็ได้ นอกจากนั้น การทำโจทย์โดยจำวิธีทำเป็นรูปแบบตายตัว ก็สามารถทำได้บ้าง แต่ถ้าเจอโจทย์พลิกแพลง ยิ่งโดยเฉพาะเวลาไปเจอในสนามสอบจริง ก็มักจะทำพลาดไปเสมอๆ

คณิตศาสตร์นั้นต้องมองภาพกว้างก่อนว่า ความรู้ในแต่ละบทนั้น สามารถเอาตรงไหน ส่วนไหน ไปแก้ปัญหาโจทย์ข้อนี้ได้บ้าง ทำไมถึงใช้ความรู้บทนี้ สูตรนี้ เชื่อมโยงกันแบบนี้ ทำได้ถึงตรงนี้แล้ว โจทย์ยากแค่ไหน ก็ไม่เกินความสามารถแล้วครับ

การท่องจำ Versus การจดจำ

September 28, 2010 Leave a comment

บทความโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

ครูคิดว่าสอนให้นักเรียนท่องจำนั้นไม่ดี…สอนให้เข้าใจจะดีกว่า…หรือ สอนการหาความรู้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้อยู่กับตัว… นักเรียนเลย ไม่ชอบการจำ…จำไม่ได้ว่าได้เรียนรู้อะไร…จำไม่ได้ว่าหาความรู้ได้ที่ไหน…ไม่ มีความรู้อยู่กับตัว… เมื่อถึงคราวที่ต้องใช้ความรู้อย่างรวดเร็วจึงมีการตอบสนองเหมือนคนไม่มี ความรู้หรือไม่มีการศึกษาทั้ง ๆ ที่มีปริญญา… การท่องจำทำให้ระลึกได้อย่างเร็ว มีการตอบสนองอย่างเป็นอัตโนมัติ…กลับมาท่องอาขยาน อ่านนิทานร้อยบรรทัดกันดีกว่า…

การเรียนแบบท่องจำนั้นถูกโจมตีจากนักการศึกษาในปัจจุบันว่าไม่สร้างปัญญา ให้กับผู้เรียน เป็นการสอนแบบเก่า ล้าสมัย นักเรียนท่องเนื้อหาที่เรียนได้แบบนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้ความหมายเป็นสิ่ง ไม่ดีในกระบวนการของการเรียนการสอน ดังนั้นการท่องบทอาขยาน อ่านนิทานร้อยบรรทัด จึงไม่มีในหลักสูตรและการเรียนการสอนในปัจจุบัน ความคิดนี้ถูกสั่งสอนถ่ายทอดไปยังอาจารย์มหาวิทยาลัยในคณะศึกษาศาสตร์และ ครุศาสตร์ที่เป็นครูของนักศึกษาครูซึ่งเป็นผู้ที่จะจบออกไปเป็นครู และสุดท้ายกระบวนการไม่ชอบการจำถูกถ่ายทอดไปถึงนักเรียน และไปถึงประชาชน คนไทยเลยไม่ชอบจำ และมีทัศนะไม่ดีต่อการจำ รวมทั้งไม่สนใจเรื่องราวที่ต้องใช้ความจำ เช่น ประวัติศาสตร์ อีกด้วย

ความสับสนระหว่างการสอนให้ “ท่องจำ” กับการสอนให้ “จดจำ” ของครูจึงเกิดขึ้น ส่งผลให้นักเรียนไม่ชอบการจำและคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องจำ การสอนให้จำไม่สำคัญเท่ากับการสอนให้เข้าใจ ยิ่งปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์ช่วยบันทึกข้อมูลช่วยจำได้มาก และมี Internet ช่วยสืบค้นจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วจึงสนับสนุนการ “ไม่ท่องจำ” และ “ไม่จดจำ” ขึ้นมาอีก เดี๋ยวนี้หลายคนจำเบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญของตัวเองไม่ได้ เพราะบันทึกไว้ในเครื่องโทรศัพท์ให้ช่วยจำไว้ให้ เมื่อเครื่องโทรศัพท์มีปัญหาหรือสูญหายก็ไม่สามารถติดต่อใครได้เพราะไม่ได้ จำไว้ในสมอง

กระบวนการเรียนการสอนปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญของการจำ นักเรียนจึงไม่มีความรู้ติดตัว ไม่มีอะไรในสมอง เรียนจบก็ผ่านไป ไม่จดจำอะไรไว้จำไม่ได้ว่าความรู้อยู่ที่ไหน รวมทั้งจำไม่ได้ว่าได้เคยเรียนรู้อะไรและอย่างไรอีกด้วย เมื่อถึงคราวที่ต้องใช้ความรู้อย่างทันทีทันใด จึงมีการตอบสนองเหมือนคนไม่มีความรู้หรือเป็นคนไม่มีการศึกษาทั้ง ๆ ที่จบปริญญา หรือมีประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถจากสถาบันการศึกษา

ตัวอย่างบทอาขยานฝึกการท่องจำ

คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักบทอาขยานข้างล่างนี้ บทอาขยานช่วยฝึกสมองและส่งเสริมการจำได้อย่างดีดังตัวอย่างต่อไปนี้

วิชาเหมือนสินค้า


วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล

ต้องยากลำบากไป จึงจะได้สินค้ามา

จงตั้งเอากายเจ้า เป็นสำเภาอันโสภา

ความเพียรเป็นโยธา แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ

นิ้วเป็นสายระยาง สองเท้าต่างสมอใหญ่

ปากเป็นนายงานไป อัชฌาสัยเป็นเสบียง

สติเป็นหางเสือ ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง

ถือไว้อย่าให้เอียง ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา

ปัญญาเป็นกล้องแก้ว ส่องดูแถวแนวหินผา

เจ้าจงเอาหูตา เป็นล้าต้าฟังดูลม

ขี้เกียจเป็นปลาร้าย จะทำลายให้เรือจม

เอาใจเป็นปืนคม ยิงระดมให้จมไป

จึงจะได้สินค้ามา เป็นวิชาอันพิสมัย

จงหมั่นมั่นหมายใจ อย่าได้คร้านการวิชา

หมายเหตุ ล้าต้า คือคนถือบัญชีเรือสำเภา

การใช้คำ “บัน” และคำ “บรร”

บันดาล ลงบันได บันทึกให้ ดูจงดี

รื่นเริง บันเทิงมี บันลือลั่น สนั่นดัง

บันโดย บันโหยไห้ บันเหินไป จากรวงรัง

บันทึง ถึงความหลัง บันเดินนั่ง นอนบันดล

บันกวด เอาลวดรัด บันจวบจัด ตกแต่งตน

คำ “บัน” นั้นฉงน ระวังปน กับ ร หัน

บรรจุ อีกบรรดา บรรเทามา หาบรรยาย

บรรลุ ไม่วุ่นวาย บรรลัยตาย บรรเจิดงาม

บรรจบ บรรทมนอน บรรจงก่อน บรรหารตาม

บรรทัด บรรทุกน้ำ บรรพตข้าม บรรพชา

การใช้สระ “ใ ” (สระไอไม้ม้วน)

ผู้ใหญ่ หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ ใช้คล้องคอ

ใฝ่ใจ เอาใส่ห่อ มิหลงใหล ใครขอดู

จะใคร่ ลงเรือใบ ดูน้ำใส และปลาปู

สิ่งใด อยู่ในตู้ มิใช่อยู่ ใต้ตั่งเตียง

บ้าใบ้ ถือใยบัว หูตามัว มาใกล้เคียง

เล่าท่อง อย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วน จำจงดี

จากการท่องจำคำที่ใช้การสกดด้วย “บัน” หรือ “บรร” และการใช้ “สระไอไม้ม้วน” สามารถท่องจำและนำไปใช้ได้อย่างทันทีทันใด

นอกจากนี้การท่องสูตรคูณ ก็จัดว่าเป็นการเรียนแบบท่องจำอีกเช่นกัน เพราะคนที่ท่องได้อาจไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่ท่องจำ แต่อย่างไรก็ตาม การท่องจำนั้นยังมีประโยชน์ในการเรียนการสอนเพราะเป็นการเสริมสร้างระบบการ ตอบสนองอย่างทันทีทันใดให้กับผู้เรียน และเป็นการเรียนรู้ที่ง่ายมาก และที่สำคัญการเรียนรู้ในบางอย่างนั้นวิธีการที่ง่ายและเร็วที่สุดคือการ ท่องจำ

ลองทบทวนความจำของท่านดูซิว่า สิบสองคูณเก้าเป็นเท่าไร? บางท่านได้คำตอบทันที นั่นมาจากการท่องจำ…

ความแตกต่างของการท่องจำกับการจดจำ

“การท่องจำ” กับ “การจดจำ” นั้นคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน เพราะการท่องจำจะสามารถทวนคำที่จำได้ครบถ้วนแบบคล่องปาก แต่การจดจำเป็นการระลึกได้จากความทรงจำ ไม่ต้องมีสภาพของความคล่องปากและความเป็นอัตโนมัติ และอาจไม่สามารถทวนซ้ำด้วยวาจาได้อีกเหมือนเดิมอีกครั้ง แต่การท่องจำจะทวนซ้ำคำเดิมด้วยปากเปล่าได้เหมือนเดิมทุกครั้งไป อย่างไรก็ตามทั้งการท่องจำและการจดจำใช้พื้นฐานของการทำงานของสมองเหมือนกัน คนสมองดีจำได้ดี ทั้งการท่องจำและการจดจำ

สำหรับผู้เรียนบางคนที่ ไม่สามารถจะเข้าใจในเนื้อหาบางเรื่องในเวลาที่เรียนขณะนั้นได้ การท่องจำให้เกิดเป็นระบบการตอบสนองอัตโนมัติติดตัว จึงเป็นหนทางของการเรียนรู้ในขณะนั้นได้ และเมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนมีวุฒิภาวะพร้อม อาจกลับมาเข้าใจเนื้อหาที่ครั้งหนึ่งไม่สามารถเข้าใจได้อีกด้วย เพราะเขาจดจำสิ่งที่ท่องจำไว้ได้

ประโยชน์ ของการท่องจำ

การเรียนในบางสาขาวิชายังมีความจำเป็นต้องท่องจำอยู่มาก ผู้เรียนบางท่านไม่อาจเข้าใจได้หรืออาจไม่ทราบความหมายที่เรียนในขณะเรียน แต่จำเป็นต้องเรียนในเนื้อหานั้น การใช้วิธีท่องจำจึงเป็นวิธีการเรียนที่ดีที่สุดสำหรับเนื้อหานั้น โดยเฉพาะเนื้อหาประเภทที่ต้องใช้ความจำ เช่น กฎหมาย สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ และภาษา เป็นต้น ผู้เรียนต้องท่องจำไว้ก่อนเพื่อการสอบ

การสวดมนต์ เป็นภาษาบาลี ก็เป็นการท่องจำ ส่วนมากแล้วนักเรียนสวดมนต์เป็นภาษาบาลีโดยไม่รู้ความหมาย การอาราธนาศีล การรับศีล แม้ชาวพุทธเองส่วนหนึ่งก็ไม่รู้ความหมาย แต่สามารถท่องได้ จำได้หรือบางทีแปลเป็นภาษาไทยแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีเพราะวุฒิภาวะยังไม่ ถึงที่จะเข้าใจได้ แต่สามารถท่องจำได้

อุทาหรณ์

ขอยกอุทาหรณ์เด็กอายุ 5 ขวบ คนหนึ่งสามารถท่องศีล 5 ได้ถูกต้อง แต่ไม่รู้ความหมายที่ท่อง ถึงแม้จะแปลเป็นภาษาไทยในแต่ละข้อแล้วก็ยังไม่เข้าใจได้ครบทุกข้อ เช่น ศีล ข้อที่ 3 นั้น เด็ก 5 ขวบไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร และเชื่อว่าถึงจะมีครูที่เก่งขนาดไหนจะมาอธิบายอย่างไรก็ไม่เข้าใจ ต้องรอเวลาให้เขามีวุฒิภาวะ หรือโตพอจะเข้าใจเรื่องเพศ เรื่องกามารมณ์เสียก่อน เพราะเด็กวัยนั้นยังไม่มีวุฒิภาวะเรื่องนี้ แต่พอถึงเวลาที่เขามีวุฒิภาวะแล้ว เขาก็จะเข้าใจและก็ยังจำได้เพราะมีการท่องจำจนคล่องปาก มีการตอบสนองอย่างอัตโนมัติเมื่อมีการรับศีล เขาจะว่าตามได้อย่างถูกต้องและเข้าใจครบทุกข้อ

จากอุทาหรณ์เด็ก 5 ขวบดังกล่าว พอจะอธิบายได้ว่า การเรียนรู้บางเรื่อง บางเนื้อหานั้น ไม่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างทันทีทันใดได้ การให้ท่องจำไว้ก่อน รอวันที่ผู้เรียนจะพร้อมที่เรียนรู้ได้นั้น ถือว่าเป็นประโยชน์ของการเรียนแบบท่องจำอีกเช่นกัน

สรุป

การท่องจำเป็นการฝึกสมองทำให้สามารถระลึกได้อย่างเร็ว มีการตอบสนองอย่างเป็นอัตโนมัติ การสอนให้ไม่ต้องจดจำเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ผู้ที่เป็นครูของครู หมายถึง คณาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ หรือ คณะครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องเพิ่มการเอาใจใส่ให้นักศึกษาที่จะจบไปป็นครูได้เข้าใจในเรื่องของความจำ ให้ถูกต้อง และสั่งสอนวิธีการที่จะส่งเสริมให้มีกระบวนการสอนที่เสริมสร้างความจำให้กับ นักเรียน “เพราะนักศึกษาที่จบไปเป็นครูหรือครูประจำการในโรงเรียนจำไม่ได้ว่าท่านสอน อะไรไปบ้าง”…

ให้เด็กรุ่นใหม่กลับมาท่องอาขยาน และอ่านนิทานร้อยบรรทัดกันดีกว่า อาจช่วยยกระดับความสามารถในการจำให้กับประชาชนได้ เพราะทุกวันนี้ดูเหมือนว่าประชาชนคนไทยมักไม่ค่อยจะจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และมีทัศนะที่ไม่ชอบจะจดจำเสียด้วย จึงมักได้ยินคำว่า “เจ็บแล้วไม่จำ” อยู่บ่อยๆ