Archive

Archive for June, 2016

รวมข่าวการศึกษาสพป. วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๙

สพป.ปัตตานี เขต 3 จัดพิธีมอบทุนการศึกษาเงินสงเคราะห์สำหรับเด็กนักเรียนที่่ครอบครัวมีฐานะยากจน

871157.jpg

วันนี้ (29 มิ.ย. 2559) เวลา 10.00 น. นายวิศิษฐ์ พิทักษ์ลาวัลย์ รอง ผอ.สพป.ปัตตานี เขต 3 ได้รับมอบหมายจากนายณรงค์ ศรีละมุล ผอ.สพป.ปัตตานี เขต 3 ร่วมต้อนรับและมอบทุนการศึกษาเงินสงเคราะห์สำหรับเด็กนักเรียนที่่ครอบครัวมีฐานะยากจน ซึ่งเป็นทุนจากบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ปัตตานี ได้รับเกียรติจากร้อยเอกสมหมาย ยกสกูล หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ปัตตานี พร้อมคณะ เดินทางมามอบด้วยตนเอง โดยมีนางสาวสุวาริน สุขหนูแดง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และบุคลากรใน สพป.ปัตตานี เขต 3 ร่วมเป็นสักขีพยาน โรงเรียนที่ได้รับทุนทั้งหมด 21 โรง ได้แก่ บ้านเจาะกือแย บ้านละอาร์ บ้านพอเหมาะ บ้านชะเมาสามต้น บ้านบาโงยือริง วัดโบกขรณี ชช.วัดถัมภาวาสฯ บ้านทุ่งเค็จ บ้านป่าทุ่ง บ้านกาหงษ์ บ้านวังไชย บ้านกระจูด บ้านป่าไหม้ วัดโชติรส วัดสารวัน บ้านอุแตบือราแง บ้านมือลอ บ้านบือจะ บ้านโต๊ะชูด บ้านปากู และชุมชนบ้านปาแดปาลัส โรงละ 11 ทุน ทุนละ 1,000 บ. รวมทั้งสิ้น 231 ทุน ที่ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 สพป.ปัตตานี เขต 3

Categories: Uncategorized

ประชุมผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สพม.๖ ครั้งที่๕/๒๕๕๙

870977.JPG

+ดร.ธีระวัฒน์ วรรณนุช ผอ.สพม.6 ปฏิบัติหน้าที่ รองศึกษาธิการภาค 3 เป็นประธานประชุมผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สพม.6 ก่อนดำเนินการประชุมประธานฯ มอบเหรียญรางวัลฯนักเรียนชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท.-สพฐ. ยุวชนชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 16 ประจำปี 2559 ผลการแข่งขัน โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม ชนะเลิศการแข่งขันได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,เงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท, ได้รับทุนการศึกษาเรียนต่อระดับปริญญาตีที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น,เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ”World Robot Games 2016” ณ เมืองบันตู ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 24-27 สิงหาคม 2559 และเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อกราบบังคมทูลผลการแข่งขัน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา และมอบเหรียญรางวัลแก่นักเรียนที่ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชน ครั้งที่ 5 และการแข่งขันหุ่นยนต์ Thailand Robofest Junior 2016 ได้แก่นักเรียนโรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม ,มอบประกาศเกียรติบัตร ผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงสำนักงานศึกษาธิการภาค 3 และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุมฯ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ณ ห้องประชุมโรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” (จันทรา…ภาพ/ข่าว)

29 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

The Educational Administrative Model for Increasing Learning Achievement through Instructional by Intranet system Electronic Instructional Media

ชื่อผู้วิจัย/ตำแหน่ง

ธีรพงษ์ สารแสน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

บทนำ

การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีค่าที่สุด ในการพัฒนาทุกๆ ด้าน เนื่องจากมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้ สามารถพัฒนาให้บรรลุสิ่งที่ต้องการได้ การจัดการศึกษาที่ดีจึงควรเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้สามารถพัฒนามนุษย์ได้อย่างเต็มศักยภาพ (ประเวศ วะสี, 2552, หน้า 6) ดังนั้นคุณภาพของประชากรและความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษา ทั้งยังมีความสำคัญต่อการดำเนินการเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆตามแนวโน้มของสังคมยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึง เช่น โครงสร้างประชากรที่มีแนวโน้มว่าวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น การเพิ่มจำนวนของประชากรในเมืองเนื่องจากการย้ายถิ่นเข้า ในเมืองมากขึ้น การได้รับการพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัยแต่ยังมีปัญหาด้านสติปัญญา คุณภาพการศึกษาและ มีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ปัญหาสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเนื่องจากขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแพร่ระบาดของยาเสพติด และการเพิ่มขึ้นของการพนัน สังคมเผชิญวิกฤตความเสื่อมถอยด้านคุณธรรม จริยธรรม มีการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมีแนวโน้มเป็นสังคมปัจเจกมากขึ้น อิทธิพลของสื่อที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน แต่สื่อยังมีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพประชาชนค่อนข้างน้อย รวมถึงบริบทด้านการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกที่ก่อให้เกิดความร่วมมือกันในระดับภูมิภาค ระดับทวีป นำมาซึ่งการไหลบ่าเข้ามาของเทคโนโลยี วัฒนธรรม อันมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในประเทศ เช่น การร่วมมือในประชาคมอาเซียน เป็นต้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2555, หน้า 1-3) การบริหารจัดการการศึกษาที่มีประสิทธิภาพย่อมช่วยให้ประชากรในประเทศสามารถรับมือและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงตามแนวโน้มดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจำเป็นต้องใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ โดยเฉพาะการบริหารจัดการทางการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน หรือการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เนื่องจาก สื่อเทคโนโลยีที่ดีย่อมเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงถ่ายโอน รวมทั้งเชื่อมโยงเนื้อหาสาระสำคัญและองค์ประกอบอื่นๆในหลักสูตรที่เป็นเอกสารให้ง่ายต่อการนำไปใช้ คือ สามารถแก้ไขปัญหาด้านการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติได้ ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้เป็น หลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบ ทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา คุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถ ในการแข่งขันในเวทีระดับโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, 2544, หน้า, 24.) แต่จากการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่เป็นตัวกำหนดกรอบของหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า มีหลายประเด็นที่เป็นข้อจำกัดในการนำไปใช้จัดการเรียนการสอน เช่น มีความไม่ชัดเจนของหลักสูตรหลายประการทั้งในส่วนของเอกสารหลักสูตร กระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ และผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตร เช่นความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การกำหนดสาระและผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังไว้มากเกินไป การวัดและประเมินผลไม่สอดคล้องและสะท้อนถึงมาตรฐานของการศึกษา รวมทั้งปัญหาคุณภาพของผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2548, หน้า 12 ) การบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการโดยใช้ระบบอินทราเน็ตในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน เนื่องจาก อินทราเน็ตเป็นระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ต เพียงแต่อนุญาตให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น จึงเปรียบเสมือนระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร การใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งานอยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานหรือภายในโรงเรียน โดยสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตไปพร้อมๆ กันได้ ผู้บริหารสามารถจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศภายในหน่วยงาน ด้วยการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ต และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงครูผู้สอนหรือบุคลากรทุกคน ให้สามารถ เรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ รูปแบบสำคัญที่มีในอินทราเน็ต คือ การใช้ระบบเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูล หรือกระดานข่าว อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารจากเดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน ข้อมูลบุคลากร มาจัดทำให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แทน ผู้ใช้สามารถเรียกค้น ข้อมูลข่าวสารได้เมื่อต้องการ การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยให้การดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก หากมีการวางแผนงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น ซึ่งหากนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนก็จะสามารถเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งส่งเสริมประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษา ขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนในสังกัดทั้งสิ้นจำนวน 212 โรงเรียน จากผลการประเมินคุณภาพนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ยรวม 51.96 คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ยรวม 38.84 คะแนน ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ยรวม 29.25 คะแนน สถานศึกษาในสังกัดได้รับการประเมินภายนอกรอบสาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 จาก สมศ. จำนวน 64 แห่ง และได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สมศ. คิดเป็นร้อยละ 100 โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถสรุปปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญได้ ดังนี้ 1) โรงเรียนขนาดเล็กขาดปัจจัยในการบริหารจัดการได้แก่ด้านอาคารสถานที่ด้านบุคลากรด้านสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและด้านงบประมาณ 2) โรงเรียนหลายแห่งในมีครูไม่ครบชั้นและสอนไม่ตรงตามสาขาวิชาเอก 3) การติดต่อประสานงานไม่ทั่วถึงเนื่องจากสภาพพื้นที่ 4) โรงเรียนบางแห่งประสบปัญหาด้านการใช้หลักสูตรในการจัดการศึกษา 5) ครูบางส่วนยังไม่ปรับพฤติกรรมการสอนและการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและ 6) ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วนขาดความตระหนักในการบริหารจัดการศึกษา และ 7) ประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบางโรงเรียนไม่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ, 2559 หน้า 1-10)

จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา บุคลากรและผู้เรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จึงมีแนวคิดในการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ประกอบสื่ออินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ เพื่อให้พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการอันจะส่งผลให้เกิดคุณภาพของการศึกษาต่อไป วัตถุประสงค์

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ดังนี้

1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

3. เพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

4. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ วิธีดำเนินการ

ผู้วิจัยดำเนินการรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ขั้นที่ 1.1 ศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต

ขั้นที่ 1.2 ศึกษาสภาพที่เป็นจริง ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ขั้นที่ 1.3 สัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ และครูผู้สอนสาระหลักในโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการศึกษา

ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ขั้นที่ 2.1 ยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยดำเนินการดังนี้

ขั้นที่ 2.2 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ขั้นที่ 2.3 รสร้างคู่มือการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ขั้นที่ 3.1 การประเมินระดับการปฏิบัติตามในการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ขั้นที่ 3.2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการใช้รูปแบบ

การบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ขั้นที่ 3.3 การประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ระยะที่ 4 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ สรุปและอภิปรายผล

1. องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า 2) องค์ประกอบด้านกระบวนการ และ 3) องค์ประกอบด้านผลผลิต

2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 3 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 31 ตัวชี้วัด และมีกิจกรรมสนองตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 65 กิจกรรม ผลการประเมินคู่มือประกอบการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ พบว่า

3.1 การประเมินระดับการปฏิบัติในการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ อยู่ในระดับมาก

3.2 โรงเรียนที่เป็นหน่วยทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2558 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2557

3.3 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ อยู่ในระดับมาก

4. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ที่พัฒนาและปรับปรุงแล้วสามารถนำไปใช้ขยายผลกับพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงได้ ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำหนดนโยบายในการนำรูปแบบ

การบริหารจัดการศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด

1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรนำรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ไปใช้แก้ปัญหาในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนในสังกัด และควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับการนำรูปแบบไปใช้ด้วย

2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

2.1 เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ เป็นการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบหลักอย่างละเอียด เพื่อให้เป็นที่ยอมรับว่าองค์ประกอบนั้น ๆ จะส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอย่างแท้จริง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเทียบเคียงหรือปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

2.2 ควรมีวิจัยต่อยอดเกี่ยวกับการพัฒนาตัวบ่งชี้เพื่อความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่ใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา และใช้เป็นเกณฑ์หรือมาตรฐานการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนต่อไป

2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกรณีศึกษาถึงปัจจัยที่ได้รับการเสนอแนะว่า

เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น สื่ออื่นๆที่มีผลการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสนใจของผู้เรียนต่อการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินทราเน็ต ความถนัดหรือความสนใจของครูหรือโรงเรียนต่อการพัฒนาระบบอินทราเน็ต ตลอดจนปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม

ประเวศ วะสี. (๒๕๕๒) สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ปฏิรูปทางปัญญา พาชาติออกจากวิกฤติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)

วิชัย วงษ์ใหญ่ วารสารเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ https://nawaporn.wordpress.com/บทความทางการศึกษา/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (๒๕๕๑) รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : เพลินสตูดิโอ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (๒๕๕๗) การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายรัฐบาลปี ๒๕๕๖ กรุงเทพฯ : เพลินสตูดิโอ วารสารการศึกษาไทย สิงหาคม ๒๕๕๗ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๑๖

หนังสือพิมพ์ คมชัด ลึก ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ออนไลน์http://www.komchadluek.net/detail/20150323/203437.html ‹ ประกาศสอบราคาซื้อ สื่อ ครุภัณฑ์ ตามโครงการจัดหาสื่อ ครุภัณฑ์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ จำนวน 3 รายการ ประจำปีงบประมาณ ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS เรื่องพลังงานนิวเคลียร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ส ›

อาทิตย์, 26 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ.ติดตาม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

869548.JPG

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เวลา 09.20 น. สำนักติดตามและประเมินผล สพฐ. นำโดย นายปราโมทย์ แก้วสุข ข้าราชการบำนาญ หัวหน้าคณะติดตาม สพฐ., นางนงลักษณ์ วิไลวงศ์เสถียร และ นางสาวปุญญาพัฒน์ เปลี่ยนศรีเพ็ชร สำนักติดตามและประเมินผล ได้มาติดตามผลกรดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โดยมี นายสุดใจ มอญรัต ผอ.สพป.อ่างทอง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยรอง ผอ.สพป.อ่างทอง ผู้อำนวยการกลุ่ม คณะศึกษานิเทศก์ เข้าร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุมสานฝัน สพป.อ่างทอง มีนายเชต บุญมี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานการดำเนินงานตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

สำหรับในภาคบ่ายคณะติดตามฯ จะได้ดูการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้” ที่โรงเรียนวัด อบทม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง.///ณัชภัษสรณ์ สิริอัคคะโชติ ภาพ/ข่าว

24 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ.ติดตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เชิงประจักษ์

869056.JPG

วันที่ 22 มิถุนายน 2559 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยคณะติดตาม นำโดยนายอภิสิทธิ์ รื่นจิตร์ ประธานคณะติดตาม พร้อมด้วย นางสาวณัฐนาถ ชมพูสวัสดิ์ และนางกษมา จันทร์ศรี สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ชิงประจักษ์ ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1ปีการศึกษา 2559 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 โดยมีนายธัชชเวชว์ จันทร์สุขศรี ผอ.สพม.14 พร้อมด้วยนางสาวสุวิภา ตั้งก่อสกุล รองผอ.สพม.14 และบุคลากร ร่วมต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานโดยกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา หลังจากนั้นได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนในสังกัด จำนวน 1 โรง คือดีบุกพังงาวิทยายน ซึ่งเป็น 1 ใน 13 โรงเรียนที่ได้มีการขยายผลในปี 2559 Cr ภาพโดย เครือข่าย ปชส. / เรวดี..ข่าว

23 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพป.สุรินทร์ เขต ๓ รับการติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙

868848.JPG

สพป.สุรินทร์ เขต 3 รับการติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เชิงประจักษ์ ระยะที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 โดยมี นายศักดิ์สิทธิ์ ขัตติยาสุวรรณ ข้าราชการบำนาญ (ประธานการติดตาม) นายธัชชัย จุ้ยคลัง และ นายชนัฐชัย ตาควัน คณะกรรมการ จากสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในช่วงเช้ามีการติดตามและฟังสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ณ หอประชุมปราสาททอง สพป.สุรินทร์ เขต 3 โดย นายคำปุ่น บุญเชิญ ผอ.สพป.สุรินทร์ เขต 3 /รองผอ.สพป. /ผอ.กลุ่ม/หน่วย/ศูนย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมรับการติิดตาม และในช่วงบ่าย เข้ารับการติดตาม ณ โรงเรียนบ้านก็วล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

จากการติดตามผลการดำเนินการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจและให้ความสนใจกับกิจกรรมที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้ ในส่วนของปัญหาที่พบ คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญในกิจกรรมต่างๆ และปัญหาของการขาดแคลนงบประมาณในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ที่นำมาใช้ในกิจกรรมนั้นๆ ทั้งนี้ ประธานการติดตาม รับทราบปัญหาและจะนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงให้นโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ประธานการติดตามยังให้ข้อเสนอแนะว่า ให้แต่ละโรงเรียนนำจุดเน้นของ สพป.สุรินทร์ เขต 3 ในด้านผู้เรียน (Health, Head, Heart, Hand, Happy) มาประยุกต์ในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายและส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กนักเรียนในสังกัดสูงขึ้น

(กิ่งกาญจน์ นิมิตรัตนากร : ข่าว/ภาพ)

22 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ข่าว สพป. ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙

มอบโรงน้ำดื่มตามโครงการ อีซูซุให้น้ำ…เพื่อชีวิต โรงเรียนบ้านทะเลสองห้อง สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2

868382.jpg

++วันที่ 21 มิถุนายน 2559 นายสุวัฒน์ รัตนพันธุ์ รอง ผอ.สพป.นศ.2 ร่วมเป็นเกียรติ ในพิธีมอบโรงน้ำดื่มตามโครงการ “อีซูซุให้น้ำ…เพื่อชีวิต” ณ โรงเรียนบ้านทะเลสองห้อง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

++ซึ่งโรงน้ำดื่ม ตามโครงการ “อีซูซุให้น้ำ..เพื่อชีวิต” โดย มร. ทีมาเอคาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุ เซลล์ จำกัด และ มร.เค อาคาชิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซูซุเอ็นยิ่น แมนูแฟคเจอริ่ง ร่วมกับกรมทรัยากรน้ำบาดาล ซึ่งมีหน้าที่หลักในการสำรวจ และจัดหาแหล่งน้ำ ที่มีศักยภาพ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรอง ในการแก้ไขปัญญาขาดแคลนน้ำ และโรงเรียนบ้านทะเลสองห้อง สังกัด สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นสถานศึกษาหนึ่งที่อยู่ในโครงการ เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาด ด้วยความห่วงใยนักเรียน ชุมชน เพื่อที่จะได้มีน้ำบริโภค ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ช่วยส่งเสริมให้คุณภาพชีวิต ดีขึ้น

..+++ในอนาคตต่อไปโรงเรียนบ้านทะเลสองห้อง ชุมชน ก็ไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากมีโรงน้ำตามโครงการ “อีซูซุให้น้ำ …เพื่อชีวิต” จะเป็นประโยชน์แก่สถานศึกษา ชุมชน และสังคมไทยต่อไป

สพฐ.เก็บข้อมูลในการศึกษาวิจัยรายงานผลการดำเนินการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2559

868498.JPG

+ ดร.กฤษณา สว่างแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยคณะทำงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลในการศึกษาวิจัยรายงานผลการดำเนินการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แต่ละกลุ่มย่อย โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ประกอบด้วย กลุ่มที่1 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนคณะกรรมการรับนักเรียน และผู้รับผิดชอบงานการรับนักเรียนเขตพื้นที่การศึกษาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ กลุ่มที่2 โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา และระดับประถมศึกษา กลุ่มที่3 ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้แทนคณะกรรมการรับนักเรียน ผู้รับผิดชอบงานการรับนักเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนทั่วไป ระดับมัธยมศึกษา และระดับประถมศึกษา กลุ่มที่4 ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้แทนคณะกรรมการรับนักเรียน ผู้รับผิดชอบงานการรับนักเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ โรงเรียนศึกษาพิเศษ และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ เมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2559 ณ หอประชุมโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี.

ภาพ/ข่าว บรรจง ตั้งคำ

สพป.สุพรรณบุรี เขต ๒ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรสัญจรอำเภอดอนเจดีย์

868385.jpg

สพป.สุพรรณบุรี เขต ๒ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรสัฐจรอำเภอดอนเจดีย์ โดยนายวีระ ทวีสุข ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต ๒ ,รอง ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต ๒ คณะผู้บริหารสถานศึกษา,ศึกษานิเทศก์และผู้อำนวยการกลุ่ม ออกนิเทศติดตามการดำเนินการบริหารจัดการศึกษา ตามนโยบายของ สพฐ.และจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา จำนวน ๕ โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดบ้านกรวด ,โรงเรียนวัดท่ากุ่ม ,โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง ,โรงเรียนวัดสระด่านและโรงเรียนบ้านโคกหม้อ ในครั้งนี้ได้ออกติดตามในเรื่องของ DLTV และเรื่องการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้ ซึ่งประธานคณะติดตามแต่ละชุดได้รายงานผลต่อที่ประชุมดังนี้ เรื่อง DLTV ทุกโรงเรียนก็ให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้จากระบบทางไกล และมีคุณครูคอยจัดเตรียมใบงานในแต่ละรายวิชานอกจากนี้คุณครูยังคอยสอนเสริม ในส่วนของการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนที่เข้าโครงการในปี ๒๕๕๙ ได้เตรียมพร้อมโดยการไปดูการจัดกิจกรรมของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปี ๒๕๕๘ ซึ่งได้มีการเตรียมการไว้ตั้งแต่ในช่วงปิดเทอม สรุปภาพรวมโรงเรียนทั้ง ๕ โรงเรียนมีความพร้อมในการบริหารจัดการศึกษาอยู่ในระดับที่ดี…

22 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ มอบนโยบายบริหารจัดการการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๙

867767.JPG

วันเสาร์ที่ 18 และ วันอาทิตย์ ที่ 19 มิถุนายน 2559 นายบุญเทียม อังสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ประชุมสัญจรข้าราชการครูในสังกัดทั้ง 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองฯ ทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย ปีการศึกษา 2559 เพื่อชี้แจงนโยบาย แนวทางการจัดการศึกษาในปีการศึกษา 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ประกอบด้วย นโยบายเรียนฟรี 15 ปี การดำเนินงานกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนสีขาว การปลูกฝังระเบียบวินัยให้กับนักเรียนโดยใช้กระบวนการลูกเสือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ก่อนการประชุม นายบุญเทียม อังสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 นำกล่าวปฏิญาณตน จากนั้น ได้มอบเกียรติบัตร ยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญและกำลังใจ แก่รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ประธานกรรมการศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาของแต่ละอำภอ และข้าราชการครูที่ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน O-NET, NT และข้อสอบกลาง ปีการศึกษา 2558 และหลังการประชุม ได้เชิญชวนข้าราชการครูที่เข้าร่วมประชุมออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ด้วย

21 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพป.พิษณุโลก เขต ๑ ส่งมอบเอกสารของสถานศึกษาเอกชนอาชีวศึกษา

866359.JPG

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จัดพิธีส่งมอบ กิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ในโรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทอาชีวศึกษา ให้แก่ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ตามคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2559 เรื่อง การบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการพิษณุโลก และ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจพิษณุโลก โดยมีดร.วิวัฒน์ อ้นน่วม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ดร.จีรพงษ์ หอมสุวรรณ ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ร่วมลงนามในหนังสือส่งมอบ ท่ามกลางผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1/ผู้อำนวยการกลุ่ม ที่ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมมิ่งมณฑล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1.

วิภา อุทะพันธ์:ภาพ/ข่าว

17 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพป.กาญจนบุรี เขต ๓ ตรวจสอบความพร้อมและความปลอดภัยอาคารสถานที่พักของนักเรียนในสังกัด

865682.jpg

วันที่ 14 – 15 มิถุนายน 2559 นายศุภชัย มากสมบูรณ์ รอง ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 3 และคณะ เดินทางตรวจสอบความพร้อมและความปลอดภัยอาคารสถานที่พักของนักเรียนในสังกัด ที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์เพลิงไหม้หอพักนักเรียนหญิง โรงเรียนพิทักษ์เกียรติวิทยา จังหวัดเชียงราย ทางกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่มีอาคารสถานที่พักนอนของนักเรียนดำเนินการตรวจสอบความพร้อมและความปลอดภัยอาคารสถานที่พักของนักเรียน ทาง สพป.กาญจนบุรี เขต 3 จึงได้เดินทางไปตรวจสอบที่พักนักเรียนดังกล่าว ได้แก่ โรงเรียนเพียงหลวง 3 สาขา โรงเรียนเพียงหลวง 3 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ห้องเรียนสาขาพระธาตุโบอ่อง และห้องเรียนสาขาบ้านเหมืองแร่อีต่อง , โรงเรียนบ้านห้วยกบ , โรงเรียนวัดวังก์วิเวการาม , โรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี สาขาลาซาล และโรงเรียนบ้านซองกาเรีย ณ บริเวณ อ.ทองผาภูมิ และ อ.สังขละบุรี

รับชมรูปภาพเพิ่มเติมได้ โดยคลิกที่นี่+++

ข่าว / ภาพ : ธนาคาร สุทธิ

16 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ