Archive

Posts Tagged ‘ห้องเรียน’

ข่าว สพฐ. ๔ มีนาคม ๒๕๖๑

ผอ.สพป.สิงห์บุรี เป็นประธาน เปิดงานการแสดงกิจกรรมของนักเรียน โรงเรียนวัดบางปูน

1056005.jpeg

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม 2561 เวลา 18:30 น. ณ โรงเรียนวัดบางปูน ดร.พิเชฐร์ วันทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี เป็นประธาน เปิดงานกิจกรรมการแสดงของนักเรียน โรงเรียนวัดบางปูน ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ร่วมกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน จัดกิจกรรม การแสดงประจำปี ของนักเรียน ปีการศึกษา 2560 ซึ่งมีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนร่วมแสดง จำนวน 15 ชุด

1. เพื่อเป็นการพบปะ และสร้างความสัมพันธภาพที่ดี ของ ครู ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน

2. เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงออกในด้านศิลปวัฒนธรรมไทยที่น่าชื่นชมของนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน

3. เพื่อจัดหาทุนสนับสนุนพัฒนาการศึกษาจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ พัฒนาห้องสมุดของโรงเรียน เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของนักเรียน

ผอ.สพปเพชรบูรณ์ เขต 1 ตรวจเยี่ยม ร.ร.บ้านป่าเลา และร.ร.บ้านป่าแดง

1056068.jpg

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 11.00 น. ดร.อำนาจ บุญทรง ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านป่าเลา อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โดยมีนายประมาณ โพธิ์จักร ผู้อำนวยการโรงเรียนพร้อมคณะครูให้การต้อนรับ และอำนวยความสะดวก ได้พบปะพูดคุยกับคณะครู โรงเรียนบ้านป่าเลาเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 81 คน ครูและบุคลากร จำนวน 7 คน ทั้งนี้ ได้เยี่ยมห้องเรียน ชั้น ป.1 และ ป.2 พร้อมทดสอบการอ่านของนักเรียน เพื่อทราบปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข สังเกตพัฒนาการในการอ่านและ การเขียนของนักเรียน ทั้งนี้ ได้กำชับผู้บริหาร ครูประจำชั้นให้ความสำคัญด้านการอ่าน การสะกดคำ คำควบกล้ำ สระลดรูป การอ่านออกเสียงอย่างถูกต้อง และได้ได้ติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโรงเรียน พบว่า สามารถใช้งานได้ปกติ มีสัญญาณ WIFI ครอบคลุมทุกอาคารเรียน ระบบสัญญาณมีความเสถียร สามารถใช้เพื่อการบริหารจัดการและเพื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมา ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 193 คน โดยมีนายวิทยา เกตุงอน รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมคณะครูให้การต้อนรับ ในการนี้ได้ตรวจเยี่ยมห้องเรียน ชั้น ป.1 และ ป.2 ทดสอบการอ่านและการเขียนของนักเรียน พร้อมทดสอบระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง พบว่า อินเทอร์เน็ตมีความเสถียรสามารถใช้เพื่อการบริหารจัดการและเพื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามประมวลภาพได้ที่เว็บไซต์เฟสบุ้ค กลุ่มสาธารณะชื่อ เครือข่า่วประชาสัมพันธ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต ๑ เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1733279130051775&type=3

สพป.ยะลาเขต3 ร่วมกับรร.บ้านบัวทองต้อนรับคณะตรวจเยี่ยมติดตามและประเมินสถานการณ์รปภ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา

1056027.jpg

วันที่ (27 กุมภาพันธ์ 2561) เวลา 08.30 น. นายสุริยัณ จันทร์ทบ รองผอ.สพป.ยะลา เขต 3 รักษาราชการแทนผอ.สพป.ยะลา เขต 3 พร้อมด้วยบุคลากรทางการศึกษา นายฟัฎลี แนโม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบัวทองและคณะครูได้ร่วมต้อนรับ พ.อ.อาทร จันทร์ทอง รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา และคณะตรวจเยี่ยม ติดตาม ประเมินสถานการณ์การดูแลความปลอดภัยครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นทีี่โรงเรียนบ้านบัวทองและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อรับฟังความคิดเห็น การรายงานเหตุการณ์ โดยมีปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคงอำเภอธารโต รอง ผบ.มว.ฉก.ยะลา ตชด.44 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังศิลา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านศรีท่าน้ำ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปะเด็ง รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองธารโต 6 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ปกครองนักเรียน คณะครูเข้าร่วม จำนวน 40 คน ณ โรงเรียนบ้านบัวทอง อำเภอธารโต จังหวัดยะลา พ.อ.อาทร จันทร์ทอง รองผบ.ฉก.ยะลา กล่าวว่าการเดินทางมาพบปะ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูในพื้นที่อำเภอธารโต ครั้งนี้ เพื่อตรวจเยี่ยม ติดตามและประเมินสถานการณ์การดูแลรักษาความปลอดภัยครูและบุคลากรทางการศึกษา รับฟังความคิดเห็น และให้แนวทางมาตรการในการดูแลรักษาความปลอดภัยครู 3 ประการ คือ ประการแรก ให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติ ว่าครูมีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ที่ไหน เดินทางอย่างไร เพื่อนำไปวางแผนเป็นการเบื้องต้น ประการที่สอง ให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์พื้นที่และเส้นทางให้ครูฟังว่ามีอะไรบ้าง จุดไหนที่น่าสนใจ รู้จักสังเกตุ และจดจำเพื่อความปลอดภัยของครูและบุคลากรทางการศึกษา ประการที่สามให้ครูรู้จักวิเคราะห์ว่าหมู่บ้านสองข้างทางระหว่างเดินทางหมู่บ้านไหนที่น่าอยู่ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนช่วยเหลือ เมื่อเกิดเหตุการณ์สามารถป้องกันตนเองได้เป็นการเบื้องต้น นอกจากนี้ได้ฝากไปยังผู้อำนวยการโรงเรียน กำนันผู้ใหญ่บ้านได้ร่วมกันสอดส่อง ดูแล สิ่งแปลกปลอมในโรงเรียนเป็นประจำทุกวันเพื่อความปลอดภัยของครู บุคลากร สถานศึกษาและนักเรียนเป็่นสำคัญ

เกสรี ปชส.สพป.ยะลา เขต 3 ภาพ/ข่าว

4 มีนาคม 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ. แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ณPleasure Ballroom ชั้น ๒ โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพมหานคร

February 23, 2018 Leave a comment

1053521.JPG

***วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 นางสุกัญญา งามบรรจง รองเลขาธิการ กพฐ. แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2561 ณ Pleasure Ballroom ชั้น 2 โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยการประกวดหนังสือดีเด่นจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหนังสือ ให้ผลิตงานที่ประณีต มีคุณค่า และมีสารประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้งสนับสนุนให้ผู้อ่านรู้จักเลือกหาหนังสือที่มีคุณค่ามีสารประโยชน์ และมีความเหมาะสมมาอ่าน เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พร้อมด้วยกระตุ้นนิสัยรักการอ่านของคนไทย นางสุกัญญา งามบรรจง กล่าวว่า โครงการประกวดหนังสือดีเด่น ได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2515 โดยเป็นโครงการที่ได้มอบหมายให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ เป็นผู้ดำเนินการในช่วงระยะแรกเพื่อร่วมฉลองปีหนังสือสากลตามข้อเสนอแนะของยูเนสโก ข้อหนึ่งคือ “รัฐบาลและองค์กรอาชีพที่เกี่ยวข้องอาจร่วมกันจัดหารางวัลพิเศษ เช่น รางวัลทางวรรณกรรม รางวัลเรียงความของนักเรียน รางวัลการออกแสตมป์ รางวัลหนังสือราคาถูก เป็นต้น” ต่อมาปี พ.ศ. 2516 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ โดยมีศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นฝ่ายเลขานุการ ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ จึงได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการประกวดหนังสือดีเด่นตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึง พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการใหม่ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เป็นผู้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือดีเด่นเป็นประจำทุกปี ซึ่ง สพฐ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหนังสือ และการอ่านว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยพัฒนาความคิด สติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกกลุ่มทุกวัย อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบกับรางวัลหนังสือดีเด่นเป็นที่ยอมรับในสังคมการอ่านด้วยดี อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมผลิตหนังสือที่มีคุณภาพ และสารประโยชน์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 เป็นการประกวดหนังสือที่ตีพิมพ์โฆษณาเป็นเล่มบริบูรณ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 สำหรับปีนี้ มีผู้ประพันธ์ ผู้จัดพิมพ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมส่งหนังสือประกวดรวมจำนวนทั้งสิ้น 338 เรื่อง แยกเป็นกลุ่มหนังสือต่างๆ ได้แก่ หนังสือสารคดี หนังสือนวนิยาย หนังสือกวีนิพนธ์ หนังสือรวมเรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ และหนังสือสวยงาม โดยผลการพิจารณาตัดสินรางวัลหนังสือดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2561 มีหนังสือได้รับรางวัล 52 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 11 เรื่อง รางวัลชมเชย 41 เรื่อง ดังต่อไปนี้ รางวัลดีเด่น ได้แก่ หนังสือสารคดี เรื่อง นนทบุรีศรีมหานคร โดย พิศาล บุญผูก สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช / หนังสือนวนิยาย ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล / หนังสือกวีนิพนธ์ ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล / หนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่อง ลืมตาตื่นอีกครั้ง…ในเวลาอันสมควร โดย ปองวุฒิ รุจิระชาคร แพรวสำนักพิมพ์ / หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี เรื่อง นกป่ากับปู่ต้นไม้ โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์ และสุดไผท เมืองไทย บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด / หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6 – 11 ปี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง โลกของมดแดงกับแตงกวา (เอยด้วย!) โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด 2. ประเภทสารคดี เรื่อง พระพุทธเจ้า ศาสดาผู้รู้แจ้งด้วยตนเอง โดย สุทธิลักษณ์ น้อยหร่าย อมรินทร์คอมมิกส์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด / หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล 2. ประเภทสารคดี เรื่อง วิถีแห่งไทย… สายธารแห่งปัญญา โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 3. ประเภทบทร้อยกรอง เรื่อง รวมบทร้อยกรอง ร้อยกลอน โดย ชวิน พงษ์ผจญ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต / หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การ์ตูน และ หรือนิยายภาพทั่วไป เรื่อง ความสุขของกะทิ ฉบับลายเส้น โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ แพรวสำนักพิมพ์ 2. การ์ตูน และ หรือนิยายภาพสำหรับเด็ก เรื่อง ล่าขุมทรัพย์อาเซียน: สิงคโปร์ โดย ป๋าสนิท และกฤษดา พึงปิติพรชัย บริษัท นานมีบุ๊คส์จำกัด / หนังสือสวยงาม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป เรื่อง สมุดภาพสยามเรเนซองส์ : ความทรงจำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1 REMINISCENCE OF RATTANAKOSIN I (1851 – 1911) โดย หม่อมหลวงภัคภรจันท์ เกษมศรี สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก เรื่อง ในดวงใจนิรันดร์ Still on My Mind โดย ธัมม์ ศิริพรมรินทร์ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด รางวัลชมเชย สำหรับ หนังสือสารคดี มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. จากรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 9 : อีกย่างก้าวของพระบรมเดชานุภาพ โดย สมโชติ อ๋องสกุล ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา โดย ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สำนักพิมพ์เมืองโบราณ 3. เรย์นัลโด อิเลโต้ : มวลชนคนชั้นล่าง ประวัติศาสตร์แห่งชาติ และความรู้แบบอาณานิคม โดย ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักพิมพ์สมมติ / หนังสือนวนิยาย มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. กรงกรรม โดย จุฬามณี บริษัท สำนักพิมพ์แสงดาว จำกัด 2. กระหนกนที โดย ยุวดี มณีกุล สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม 3. ม่านชีวิต โดย ธนายุทธ ลีห์ขจร บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด / หนังสือกวีนิพนธ์ มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ใจธรรมชาติ โดย ‘กุดจี่’ พรชัย แสนยะมูล หจก. ไม้ยมก ไม้ยมก ยกกำลังฝัน 2. แนบเกล้าเนากาล รวมบทร้อยกรอง โดย ชวิน พงษ์ผจญ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต 3. ระหว่างทางกลับบ้าน โดย อังคาร จันทาทิพย์ ผจญภัยสำนักพิมพ์ / หนังสือรวมเรื่องสั้น มี 2 เรื่อง ได้แก่ 1. นักแสดงสด โดย สาคร พูลสุข แพรวสำนักพิมพ์ 2. เสน่หานุสรณ์ โดย เงาจันทร์ แพรวสำนักพิมพ์ / หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. คนนี้คือใคร โดย สุมาลี นานมีบุ๊คส์คิดดี้ 2. ผ้าห่มวิเศษของนิ้งหน่อง โดย มณิศา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด 3. ลูกฉันหายไปไหน โดย ธารินี เหลืองอารีพร บริษัทพาส เอ็ดดูเคชั่น จำกัด / หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี แบ่งเป็นประเภท 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. ป่าต้องห้าม โดย พรชัย แสนยะมูล สำนักพิมพ์เบสต์โฟร์คิดส์ 2. ผ่อผนัง ฟังนิทาน โดย อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย 3. เรารักในหลวง โดย กองบรรณาธิการแพรวเพื่อนเด็ก สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก 2. ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. ความลับของแมว โดย ณิชา พีชวณิชย์ บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด 2. ติ๊ด ติ๊ด…สนุกคิดบ้านสวน โดย รัตนา คชนาท บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด 3. อมตะผีรอบโลก โดย ณัฐชนัน โฆษิตาภรณ์ บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด / หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. เด็กชายที่ปลอมตัวเป็นหนังสือ, ดอกไม้ และอื่น ๆ โดย ปะการัง สำนักพิมพ์เช้าวันอาทิตย์ 2. บึงน้ำแห้ง โดย โชติ ศรีสุวรรณ สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ 3. อัศวินอุตุกับปีศาจทั้งแปด โดย ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร สำนักพิมพ์ภูตะวัน 2. ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. เทใจให้สเปน Spain’s Great Time โดย วันฉัตร ชินสุวาเทย์ บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าวัยรุ่น โดย หมอจริง สปริงบุ๊กส์ 3. How deep is your dream โดย สุดารัตน์ เทียรจักร์ สำนักพิมพ์บันบุ๊คส์ 3. ประเภทบทร้อยกรอง มี 3 เรื่อง คือ 1. ดินแต้มดาว โดย อนุวัฒน์ แก้วลอย โรงนาบ้านไร่ 2. รวมบทกวี “เก็จแก้วกรองกานท์” โดย สุปาณี พัดทอง บริษัท ออน อาร์ต ครีเอชั่น จำกัด 3. เรืองแสงแห่งหัวใจ โดย นิวรรฒก์ ทองจำปา บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด / หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป มี 3 เรื่อง คือ 1. กระบี่หยามยุทธภพ โดย หมู นินจา (สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์) บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. พระเจ้า 500 ชาติ โดย โอม รัชเวทย์และคณะ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด 3. หมาจ๋า Therapy หมาจ๋ารักษาใจ โดย ณัฐวีร์ ลิมปนิลชาติ บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก มี 3 เรื่อง คือ 1. ท่องแดนไดโนเสาร์ ตอน แผ่นดินเปลี่ยนแปลง โดย จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์ และอำพวรรณ ทิวไผ่งาม บริษัท สำนักพิมพ์ เวิลด์คิดส์ จำกัด 2. มอนสเตอร์ในเงามืด โดย มนต์ชัย และ สิริน บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด 3. เมฆของพระราชา โดย กองบรรณาธิการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด / หนังสือสวยงาม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป มี 3 เรื่อง คือ 1. ปฐมบทแห่ง สยาม – ไทย ณ ห้วงกาล ถวายคารวาลัย Siam-Thai Between Time : The Genesis Homage to a Beloved Monarch โดย ณัฐสุดา จันทระ บริษัท คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์ จำกัด 2. วิถีแห่งไทย… สายธารแห่งปัญญา โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 3. สืบสานศิลป์ ในแผ่นดินพระทรงธรรม โดย วงเดือน นาราสัจจ์ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก มี 3 เรื่อง คือ 1. ครอบครัวสุขสันต์ สงกรานต์สุขใจ โดย ภัทรวลี นิ่มนวล บริษัท สำนักพิมพ์โลกหนังสือ จำกัด 2. จุ๊ จุ๊… เงียบหน่อยนะจ๊ะ โดย รัตนา คชนาท สำนักพิมพ์ HELLO KIDS 3. พระมหาชนก วิริยะบารมี โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์ สำนักพิมพ์ทองเกษม อนึ่ง ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ และการประกาศผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

23 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

หน่วยงาน สพฐ. ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

February 16, 2018 Leave a comment

ผอ.สพป.ชัยนาท เยี่ยมเป็นกำลังใจพร้อมต้อนรับคณะกรรมการประเมินศูนย์การเรียนรู้ฯ

1049763.JPG

วันที่ 15 ก.พ.61 นางสาวลออ วิลัย ผอ.สพป.ชัยนาท พร้อมนางทัศณี แก้วทอง รอง ผอ.สพป.ชัยนาท ร่วมเยี่ยมและเป็นกำลังใจให้โรงเรียนชุมชนวัดดักคะนน ในการรับการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา พร้อมกล่าวต้อนรับนายสุเทพ ชนะบวรสกุล ประธานคณะกรรมการประเมิน และคณะกรรมการประเมิน โดยมีนายโอภาส พาพันธ์ ผอ.รร.ชุมชนวัดดักคะนน รายงานพร้อมนำเสนอผลการดำเนินงานของโรงเรียน ซึ่งในการดำเนินงานโรงเรียนมีเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย คณะผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์ประสานงานทางการศึกษาเมือง 1 , ผู้นำชุมชน , คณะกรรมการสถานศึกษา , คณะกรรมการหมู่บ้าน , กลุ่มผู้สูงอายุ , ผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนชุมชนและวัด ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานดังกล่าวเป็นอย่างดีและเข้มแข็ง ธานี วงษ์ทอง ภาพ/ข่าว/พิมพ์

สพป.เลย เขต 2 ประชุมคณะกรรมการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

1049744.JPG

วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ นายพลชัย ชุมปัญญา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ ได้พบปะผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการ การทดสอบความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จะทำการทดสอบด้านการอ่านรู้เรื่อง และการอ่านออกเสียง ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ โดยเฉพาะเรื่องนโยบายการอ่านออกเขียนได้ นโยบายห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แจ้งแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อครั้งจัดประชุมรับนโยบายที่จังหวัดนครราชสีมาช่วงวันที่ ๗-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา ได้ฝากให้คุณครูที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการ ได้ศึกษารายละเอียดคู่มือให้เข้าใจชัดเจนในการประเมินพิจารณาให้คะแนน เนื่องจากเด็กมีหลายระดับทั้งเด็กปกติ และเด็กพิเศษ

เลขานุการ รมว.ศธ. ตรวจเยี่ยมโครงการผู้นำในตัวฉัน (The Leader in Me)โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์

1049746.JPG

เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ หม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เดินทางมาปฏิบัติราชการที่จังหวัดบุรีรัมย์ และในช่วงบ่ายได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการผู้นำในตัวฉัน (The Leader in Me) และโรงเรียนแม่เหล็ก และมี ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ผอ. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สพฐ. ร่วมตรวจติดตาม โดย นายชาญชัย ไชยพิศ ผอ.โรงเรียน คณะครู นักเรียนต้อนรับ และนำชมห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการสร้างทักษะชีวิตและภาวะผู้นำด้วยกระบวนการ The Leader in Me ที่สร้าง ๗ อุปนิสัย ช่วยพัฒนาเยาวชนจากภายในสู่ภายนอกแบบองค์รวม ให้ดีขึ้นทั้ง ๓ ด้าน คือ ทักษะชีวิตภาวะผู้นำ วัฒนธรรมโรงเรียน และวิชาการ การตรวจเยี่ยมโรงเรียนในครั้งนี้ได้มีนางสโรชินิ โอชโร และนายประยงค์ เลาลักษณ์จรรยา รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ ร่วมต้อนรับด้วย ศากุน ศิริพานิช…รายงาน

15 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต ๑ เปิดค่ายอ่านออกเขียนได้และตรวจเยี่ยม ร.ร.อนุบาลชนแดน

February 15, 2018 Leave a comment

1048858.jpg

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ดร.อำนาจ บุญทรง ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 เป็นประธานเปิดค่ายยกระดับการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้น ป.1 ณ ร.ร.อนุบาลชนแดน อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ โดยมี นายไพรวัลย์ พุทธารัตน์ ผอ.ร.ร.อนุบาลชนแดน พร้อมด้วยคณะ ผอ.ร.ร. และคณะครูร่วมต้อนรับและอำนวยความสะดวก การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถอ่านออกเขียนได้ ตามโครงการสถานศึกษาปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ภายใต้กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละฐานการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ฐาน ดังนี้ คือ ฐานที่ 1 การสะกดคำ ฐานที่ 2 การอ่านออกเสียงคำ ฐานที่ 3 การอ่านออกเสียงข้อความ ฐานที่ 4 การเข้าใจความหมายของคำ และ ฐานที่ 5 ความเข้าใจในการอ่าน ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ได้ร่วมสังเกตการณ์ในแต่ละฐานและทดลองการสอนในแต่ละฐานด้วย พบว่านักเรียนมีความสุข ร่าเริง สนุกสนาน มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน พร้อมกับได้รับความรู้จากกิจกรรมในครั้งนี้ ต่อมาได้ตรวจเยี่ยม ร.ร.อนุบาลชนแดน ได้พบปะพูดคุยกับคณะครู และเยี่ยมห้องเรียนชั้นปฐมวัย เพื่อดูพัฒนาการของนักเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของคณะครู ตรวจเยี่ยมห้องเรียนของนักเรียน ชั้น ป.1 และชั้น ป.2 พร้อมทดสอบการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ทำให้เห็นการพัฒนาการในการอ่านและการเขียนของนักเรียนในระดับหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ได้กำชับครูประจำชั้นให้ความสำคัญกับนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นกรณีพิเศษ ได้ติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโรงเรียน พบว่า สามารถใช้งานได้ปกติ ระบบสัญญาณมีความเสถียร สามารถใช้เพื่อการบริหารจัดการและเพื่อการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างประสิทธิภาพ โรงเรียนมีอุปกรณ์ด้าน ICT เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ครบทุกห้องเรียน ครูทุกคนนำ ICT ไปใช้จัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียน ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็ปไซต์เฟสบุ้ค กลุ่มสาธารณะชื่อ เครือข่ายประชาสัมพันธ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1713713778674977&type=3

13 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

“สวรรค์อนันต์วิทยา ๔.๐ Open House”

January 30, 2018 Leave a comment

1043011.JPG

วันนี้(30 มกราคม 2561) โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จัดกิจกรรมเปิดโลกวิชาการ 2561 “สวรรค์อนันต์วิทยา 4.0 Open House” โดยมีนายวรินทร์ ชำนาญผา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 เป็นประธาน และนายถาวร ปรากฏวงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวรายงาน

กิจกรรมเปิดโลกวิชาการ 2561 “สวรรค์อนันต์วิทยา 4.0 Open House” จักขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้ครูและนักเรียนได้แสดงความสามารถอย่างอิสระและสร้างสรรค์ตามความถนัดของตนเอง ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านศิลปะ ด้านดนตรี ด้านเทคโนโลยี และการงานอาชีพ ตามที่ได้เล่าเรียนมาจากทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน เป็นการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถ ได้นำเสนอผลงานของตัวเอง ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ เข้าค่ายพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผู้ร่วมงาน ประกอบด้วยครูและบุคลากรจำนวน 175 คน นักเรียนจำนวน 2,550 คน นอกจากนี้ยังมีครูและนักเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษาอีกจำนวน 12 โรงเรียน เข้ามาร่วมกิจกรรม เพื่อศึกษาดูงานและเป็นแนวทางในการเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยาอีกด้วย

30 มกราคม 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ข่าวสารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพื้นฐาน วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๑

January 16, 2018 Leave a comment

ประชุมคณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัดฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา ๒๕๖๑ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1035037.jpg

วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายวิสูตร เจริญวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงเรียน เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการรับนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ ณ ห้องประชุมประยูรสุข สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ ศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานการประชุม เพื่อรับทราบนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ และพิจารณาประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/แผนการรับนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑/สัดส่วนการรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง/มาตรการป้องกัน ป้องปราม ที่จะไม่ให้เกิดเด็กฝากและการรับเงินเพื่อแลกเปลี่ยนกับการรับนักเรียนเข้าเรียน รวมทั้ง การรับนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษที่ต้องมีเหตุอธิบายต่อสาธารณชนได้

นางลาวัลย์ เปลี่ยนรัมย์ ครูดีในดวงใจ ปี 2561

1034430.jpg

คุณครูลาวัลย์ เปลี่ยนรัมย์ อายุ 44 ปี จบการศึกษาสูงสุด ครุศาสตรบัณฑิต(ค.บ.) สถาบันการศึกษา สถาบันราชภัฏ นครราชสีมา วิชาเอก ชีววิทยา วิชาโท เกษตรศาสตร์ เริ่มรับราชการ เมื่อปี 2538 ตำแหน่งปัจจุบัน ครูชำนาญการพิเศษ สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น ป. 4–6 โรงเรียนบ้านสมสนุก สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 คุณครูลาวัลย์ เป็นผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำหน้าที่สอนศิษย์ให้เป็นคนดีมีคุณภาพ สามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างมีความสุข ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ ทุ่มเท เสียสละ รักและเมตตาศิษย์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และได้คิดริเริ่มจัดทำนวัตกรรมมาเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจนได้ผลงานเป็นที่น่าพอใจ การจัดการเรียนการสอนของคุณครูลาวัลย์ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดตั้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน เตรียมเนื้อหา สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนคุณภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียนเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันได้ และให้เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม และประเมินผลการเรียนการสอนตลอดเวลา จึงทำให้เกิดนวัตกรรม ที่เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best practice) เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานตามวัฏจักรคำคล้องจอง 9 ขั้น คือ “เรียนรู้เรื่องโครงงาน ประสานความคิด เนรมิตคำตอบ ประกอบวิธีการ ลงงานปฏิบัติ เห็นชัดความจริง เขียนสิ่งที่ทำ เพื่อนำแสดง เห็นแจ้งทั่วกัน” จนส่งผลต่อผู้เรียน และเกิดผลงานเชิงประจักษ์ ส่งผลให้ได้รับรางวัลทั้งในระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติอย่างมากมาย ในโอกาสวันครู ปี 2561 ได้รับคัดเลือกให้เป็น “ครูดีในดวงใจ” ระดับสพฐ.ศากุน ศิริพานิช .. รายงาน

นักเรียนเมืองคอนปลื้ม ได้พบนายกรัฐมตรีในวันเด็กแห่งชาติ 2561

1034660.png

..**เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561 ทีมหุ่นยนต์โรงเรียนวัดวังรีบุญเลิศ ได้รับเกียรติจากทำเนียบรัฐบาล ให้เข้าร่วมแสดงและโชว์ถ้วยรางวัลจากการแข่งขันในระดับนานาชาติจากฮ่องกงและประเทศมาเลเซีย ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ การแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนชิงแชมป์ประเทศไทย 2 ปี พร้อมทั้งหุ่นยนต์ที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ต่อหน้านายกรัฐมตรี ฯพณฯ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ณ ตึกสันติไมตรี โดยมีตัวแทนนักเรียนจำนวน 4 คน ได้แก่นายเรืองศักดิ์ นวลงาม นักเรียนชั้น ม.3 นายนัทธพงศ์ ชีวะ นักเรียนชั้น ม.3 เด็กชายจิรัฎฐ์ ชูช่วย นักเรียน ชั้น ม.3 และเด็กชายพีระณัฐ ละม้าย นักเรียนชั้น ม.3 ครูควบคุมทีม 2 คน ได้แก่ นายวิรัตน์ ปุ๋ยกระโทก ครูควบคุมทีม และนายธวัชชัย สวัสดิ์ ครูควบคุมทีม พร้อมด้วยนางโชคดี จันทร์ทิพย์ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดวังรีบุญเลิศ เข้าร่วมงานวันเด็กแห่งชาติในวันที่ 13 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา

..**นางโชคดี จันทร์ทิพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดวังรีบุญเลิศ เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งแรกที่ได้รับเกียรติสูงสุดจากทำเนียบรัฐบาลและถือประวัติศาสตร์ของเด็กและเยาวชนจากโรงเรียนวัดวังรีบุญเลิศ ที่ได้โชว์ความสามารถให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน สำหรับบรรยากาศวันเด็กแห่งชาติ ในวันที่ 13 มกราคม 2561 ณ ทำเนียบรัฐบาล ทีมหุ่นยนต์โรงเรียนวัดวังรีบุญเลิศ ได้รับเกียรติให้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เพื่อแสดงวิสัยทัศน์และโชว์ถ้วยรางวัลการแข่งหุ่นยนต์ระดับนานาชาติและระดับชาติ โดยนักเรียนตอบคำถามพิธีกรได้ดีมากพร้อมได้รับคำชมพร้อมเสียงปรบมือดังกึกก้องติดตรึงอยู่ตลอดเวลา

..**ดช.พีรณัฐ ละม้าย กล่าวว่า ปลื้มปิติ ดีใจ และตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้พบนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พร้อมได้โชว์ผลงานและแสดงวิสัยทัศน์ คณะนักเรียนวังรีบุญเลิศของผมได้จัดทำหุ่นยนต์วิ่งแข่งและหุ่นยนต์ปลา สำหรับหุ่นยนต์ปลานี้สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ประเทศในอนาคตได้โดยใช้สำรวจน้ำเน่าเสียในแม่น้ำลำคลองหรือในทะเลสามารถใช้สำรวจปะการัง ใต้ท้องทะเลโดยติดกล้องให้มองเห็นได้ ทำให้แม่น้ำลำคลองและท้องทะเลสดใสไร้มลพิษต่อไป

15 มกราคม 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ. จับมือ เนสเล่ เปิดตัวโครงการ (Kick Off) ฝึกทักษะกีฬานักเรียนไทยณ ลานจอดรถ อาคาร สพฐ. ๔ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

January 10, 2018 Leave a comment

1032308.JPG

***9 มกราคม 2560 ณ ลานจอดรถ อาคาร สพฐ. 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ บริษัท เนสเล่ (ไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ (Kick Off) MILO Sports Development Program in Schools ซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ประกอบด้วยกิจกรรมการอบอุ่นร่างกายผ่านการเต้นแอโรบิก และแอโรบิกมวยไทย ตามด้วยการออกกำลังกายกระโดดเชือก และเตะฟุตบอล ผ่านคำแนะนำของวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมฝึกสอนฟุตบอลพิเศษสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 หรือนักกีฬาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านความร่วมมือจากอดีตนักฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทยและทีมงานซึ่งมีประสบการณ์ด้านเทคนิคพิเศษฟุตบอล

นายสนิท แย้งเกสร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เด็กไทยเติบโตอย่างสมวัยและมีร่างกายที่แข็งแรงผ่านการเล่นกีฬา รวมถึงส่งเสริมให้เด็กได้รับการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในเด็กนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 7-12 ปี (นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) ขณะที่การสอนทักษะและแนะนำเทคนิคการเล่นฟุตบอลให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3-6 ให้ทางโรงเรียนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนนักเรียนระดับชั้น ป.1-ป.6 มากกว่า 500 คนขึ้นไป รวมนักเรียนคละกันมาตั้งแต่ ป.3-ป.6 ประมาณ 50 คน หรือมาระดับเดียว 50 คน หรือเป็นนักกีฬาโรงเรียนรวมกันมา 50 คน เพื่อเข้ารับการฝึกทักษะและแนะนำเทคนิคการเล่นฟุตบอลโดยมีเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนในการทำกิจกรรมซึ่งจะถูกจัดขึ้นอย่างเหมาะสมกับจำนวนนักเรียนและขนาดของโรงเรียน ตามเกณฑ์การคัดเลือก โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และโรงเรียนที่ห่างไกล ดังนี้ โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีจำนวนนักเรียน ป.1-ป.6 ไม่ต่ำกว่า 500 คน ในกรณีที่โรงเรียนขนาดใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร โรงเรียนจะต้องมีนักเรียนหรือนักกีฬา เข้าร่วมกิจกรรมฝึกทักษะฟุตบอลได้ จำนวน 50 คน จึงมีกิจกรรมฝึกสอนฟุตบอลจากอดีตนักฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทยและทีมงานซึ่งมีประสบการณ์ด้านเทคนิคฟุตบอล / โรงเรียนที่มีขนาดเล็ก จะต้องมีจำนวนนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ไม่ต่ำกว่า 300 คน / โรงเรียนที่ห่างไกล จะต้องมีจำนวนนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ไม่ต่ำกว่า 200 คน โดยที่โรงเรียนจะต้องเดินทางเข้าถึงได้โดยรถตู้ 4 ล้อ และโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้ทำกิจกรรมของไมโล จะต้องสามารถจัดสรรเวลาให้ทางไมโลจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ 1 ชั่วโมง รวมถึงจะต้องมีสถานที่จัดกิจกรรมรองรับจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ และโรงเรียนต้องอนุญาตให้นำภาพนึ่งหรือภาพเคลื่อนไหวไปเผยแพร่ได้ต่อไปนายสนิท แย้มเกสร กล่าวต่อไปว่า การจัดกิจกรรม MILO Sports Development Program in Schools มีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมนี้แล้วกว่า 142 โรงเรียน ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาเท่านั้น จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมและแจกไมโลให้กับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลหรือที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี อีกทั้งไมโล 3 in 1 มีส่วนผสมของนม เลซิตินจากถั่วเหลืองและมอลต์สกัดจากข้าวบาร์เล่ย์ หากนักเรียนคนใดมีอาการแพส่วนผสม 3 ชนิดนี้ ให้ทางโรงเรียนดำเนินการแจ้งเด็กนักเรียนงดเข้าร่วมรับแจกไมโลชงชิม อีกทั้งยังหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมและปลูกจิตสำนึก และสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กไทยรักการเล่นกีฬา และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จในอนาคตต่อไป

บรรพต ข่าว/สุชาติภาพ

09 มกราคม 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

รวบรวมข่าวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพื้นฐานวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๐

December 19, 2017 Leave a comment

นายวิเชียร อินทรศักดิ์ ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 มอบนโยบายการยกระดับคุณภาพการศึกษา แก่ผู้บริหารสถานศึกษา

1024783.jpg

นายวิเชียร อินทรศักดิ์ ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 มอบนโยบายการยกระดับคุณภาพการศึกษา แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ได้จัดทำโมเดล MSC โดยมีรายละเอียดโมเดล ดังนี้ M=Management คือการบริหารจัดการที่ดี S=Scout คือ การสร้างคนดีมีวินัยด้วยกระบวนการลูกเสือ C=Classroom คือ การใช้ห้องเรียนเป็นฐาน ทั้งนี้ยังได้เน้นให้คณะรอง และศึกษานิเทศก์ ตลอดจนถึงผู้บริหารสถานศึกษา ได้ยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน ในเรื่อง อนุบาลพร้อมสมวัย ใส่ใจการอ่าน เขียน และคิด ภาษาอังกฤษสื่อสารดี มีคุณธรรมนำชีวิต ยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้วยวิธีที่หลากหลาย สร้างรายได้จากการเรียนรู้สู่อาชีพ และการนำนโยบายของ สพฐ.ในปี 2561 ไปปรับการจัดการเรียนการสอนทั้ง 6 ด้าน ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด ซึ่งในด้านที่สำคัญที่สุดสำหรับโรงเรียนคือ นโยบายที่ 2 ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการจัดการเรียนการสอดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

สอบสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

1024501.JPG

วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ โดย นายสมภูมิ ธรรมายอดดี รองศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน รักษาราชการแทนศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ นายอุทัย กาญจนะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ ดำเนินการจัดสอบสัมภาษณ์บุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๖๐ โดยท่านสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เกียรติมาเป็นประธานในการดำเนินการสอบสัมภาษณ์ มีผู้สังเกตุการณ์จากสำนักงานศึกษาธิการภาค ที่ ๑๕ จังหวัดเชียงใหม่ โดยท่านภานุศร สิทธิชัย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษา ศธ๓.๑๕ ,คุณศณิชล เพ็งพิมพ์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ศธภ.๑๕ ,คุณมาคุ้น หมายสุข นิติกร ชำนาญการ ศธภ.๑๕ ณ หอประชุมใหม่ สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ ++++ธีรธิดา พรหมมาแบน ภาพ /ข่าว+++++++++++

ศธจ.แม่ฮ่องสอน ร่วมกับสพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ สอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

1024467.JPG

วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๐๐ น. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ โดย นายสมภูมิ ธรรมายอดดี รองศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน รักษาราชการแทนศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ นายอุทัย กาญจนะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ ดำเนินการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๖๐ โดยท่านสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เกียรติมาตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจผู้เข้าสอบ มีผู้สังเกตุการณ์จากสำนักงานศึกษาธิการภาค ที่ ๑๕ จังหวัดเชียงใหม่ โดยท่านภานุศร สิทธิชัย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษา ศธ๓.๑๕ ,คุณศณิชล เพ็งพิมพ์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ศธภ.๑๕ ,คุณมาคุ้น หมายสุข นิติกร ชำนาญการ ศธภ.๑๕ ณ สนามสอบโรงเรียนห้องสอนศึกษาในพระอุปถัมภ์ฯ ++++ธีรธิดา พรหมมาแบน ภาพ /ข่าว+++++++++++

18 ธันวาคม 2560

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

รวมข่าว สพฐ. เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

December 8, 2017 Leave a comment

นายสายัณห์ ไกรนรา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ประธานการประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฎิบัติ เพื่อมอบแนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษา แก่ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัด

1020797.jpg

นายสายัณห์ ไกรนรา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ประธานการประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฎิบัติ เพื่อมอบแนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษา แก่ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัด ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฎิบัติ โดยมีหลักการทำงานแบบ We are family ยึดยุทธศาสตร์การบริหารงาน ในการน้อมนำพระราชดำรัสรัชกาลที่ 9 “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” มาถือปฎิบัติ และบริหารจัดการศึกษา ตาม3 คืนโมเดล 3 R Model คืนครูสู่ห้องเรียน คืนผู้บริหารสู่โรงเรียน คืนศึกษานิเทศก์สู่ครู มีเป้าหมายปลายทาง มาตรฐานคุณภาพสู่สากล คือ 1.คุณภาพเขตพื้นที่การศึกษา 2. คุณภาพสถานศึกษา 3. คุณภาพห้องเรียน 4.คุณภาพผู้เรียน ดี เก่ง สุข ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ ช่วยกันพัฒนาการศึกษาให้ก้าวไกลอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตาม “มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ต่อไป ณ ห้องพุดภูเก็ต สพป.ภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ผอ.สพป.นศ.2 รุดเยี่ยมโรงเรียนวัดจันดี น้ำท่วมระลอกสอง ถึง 2 เมตร

1020868.jpg

.**6 ธันวาคม 2560 นายบุญเลิศ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยโท ดร.สุเวศ กลับศรี , นางอาภรณ์ พัวพันธ์ รอง ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 เยี่ยมให้กำลังใจผู้บริหาร ครู นักเรียน โรงเรียนวัดจันดี อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งน้ำท่วมระลอกสองสูงกว่า 2 เมตร โดยมอบเครื่องบริโภคอุปโภค ช่วยเหลือเป็นการเบื้องต้น และจะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

..** นายวันชัย วงศ์ศิลป์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดจันดี เล่าให้ฟังว่า รอบนี้เป็นระลอก 2 ที่น้ำท่วม ระลอกแรกระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2560 ซึ่งน้ำท่วมประมาณ 1 เมตร ครู นักเรียนและชุมชนช่วยกันล้างทำความสะอาด จนเปิดเรียนได้เป็นปกติในวันที่ 4 ธันวาคม 2560 และเมื่อคืนวันที่ 5 ธันวาคม 2560 ฝนตกอย่างหนัก ตนเองและคณะครูเป็นห่วงโรงเรียนได้เข้าไปดูแลโรงเรียน ประมาณ เวลา 22.30 น. น้ำได้ไหลเข้าโรงเรียนเพิ่มความสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตนเองและคณะครู ได้ช่วยกันขนสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนไปไว้ชั้นสองได้บางส่วน และในเวลา 3.00 น. น้ำไหลแรงมากสูงประมาณ 2 เมตร ทำให้อุปกรณ์การเรียนการสอนบางส่วนจมไปกับน้ำเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก วันนี้ (วันที่ 6 ธันวาคม 2560) เวลา 15.00 น. น้ำได้ลดลงเรื่อย ๆ เหลือประมาณ เข่า ในส่วนของกลางสนาม จึงขอความอนุเคราะห์ทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือดูดน้ำออกจากโรงเรียนและร่วมกันทำความสะอาดเพื่อให้ได้จัดการเรียนการสอนได้ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการเปิดการเรียนการสอนได้ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2560 ต่อไป

..**ส่วนโต๊ะเก้าอี้พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ใช้จัดการเรียนการสอนชั้นแรก ตนเอง คณะครู และนักเรียนได้ช่วยกันยกขึ้นไปไว้ชั้น 2 เพื่อป้องกันความเสียหาย เพราะคณะครู นักเรียน ได้สัญญาว่า จะรักษา ดูแลโต๊ะเก้าอี้ พระราชทาน ให้นักเรียนในรุ่นต่อๆ ไปได้ใช้นานเท่านาน เพราะทุกคนเห็นถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก นายวันชัยฯ กล่าว

นายสง่า จันทร์วิเศษ ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 2

1020978.jpg

ประวัติส่วนตัว ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 2

นายสง่า จันทร์วิเศษ

เกิดวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๐๓ อายุ ๕๗ ปี

ภูมิลำเนา อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี

นิติศาสตรบัณฑิต วิชาเอก นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอก การแนะแนว วิทยาลัยครูสุรินทร์

ปริญญาโท

ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก การบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์

ประวัติการทำงาน

พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ครู ๑ โรงเรียนบ้านลำเพิญ จ.สุรินทร์

เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖ ครู ๒ โรงเรียนบ้านดงเค็ง จ.สุรินทร์

เมษายน พ.ศ. ๓๕๓๐ ครูใหญ่ โรงเรียนบ้านตาเพชร จ.สุรินทร์

ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ครูใหญ่ โรงเรียนบ้านทะยูง จ.สุรินทร์

ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษา อ.โพธิชัย จ.ร้อยเอ็ด

สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ หัวหน้าการประถมศึกษา กิ่งอำเภอชำนิ จ.บุรีรัมย์

พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ หัวหน้าการประถมศึกษา อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์

กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ หัวหน้าการประถมศึกษา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์

มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ หัวหน้าการประถมศึกษา อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ หัวหน้าการประถมศึกษา อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๔

ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๔

มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๒

สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๒

ผลงานความภาคภูมิใจ

๑. ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ในฐานะเป็นครูผู้ประพฤติตนตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นที่ประจักษ์ชัด เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๓

๒. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการระดับ สพฐ. เพื่อตัดสินหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์เพื่อรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) จำนวน ๓ ปีติดต่อกัน คือ

ประจำปี ๒๕๕๗

ประจำปี ๒๕๕๘

ประจำปี ๒๕๕๙

7 ธันวาคม 2560

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ศธ.นำเด็กและเยาวชนดีเด่นฯ เข้าพบนายกรัฐมนตรี

January 13, 2017 Leave a comment

page.jpg

เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำเด็กและเยาวชนดีเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ จำนวน 781 คน เข้าเยี่ยมคารวะและรับโอวาทจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2560 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.ท. โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นเกียรติ

นายกรัฐมนตรี กล่าวมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า เด็ก เยาวชน และลูกหลานทุกคน คือผู้ขับเคลื่อนประเทศไทย และคำขวัญที่ได้มอบให้เด็กและเยาวชน “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง” ก็เพื่อให้ทุกคนได้คำนึงถึงประเทศชาติด้วย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ มีความเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการในฐานะทำหน้าที่ผลิตและจัดการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ตลอดจนระดับอุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งตามยุทธศาสตร์ในช่วงปี 2559-2560 เป็นระยะของการเตรียมการเปรียบเสมือนการหว่านพืชหวังผลเก็บเกี่ยว ก็คือการสร้างเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็งให้กับประเทศชาติเพื่อขับเคลื่อนประเทศในปี 2561 ตามแผนแม่บทของรัฐบาลต่อไป ในส่วนของเด็กและเยาวชน ขอให้ช่วยคิดในชั้นเรียน คิดอย่างเป็นระบบ และมีกระบวนการคิดในระยะยาวเพื่อพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ในสิ่งที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีที่วันหนึ่ง ๆ คิดเป็นร้อยเรื่องเพราะปัญหาประเทศมีจำนวนมาก และต้องบริหารประเทศอย่างไรเพื่อให้คนไทยกว่า 70 ล้านคนอยู่อย่างมีความสุข นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีจากการอ่านหนังสือ จึงขอฝากให้เด็ก ๆ แบ่งเวลาเพื่ออ่านหนังสือให้มากขึ้น เพราะจะทำให้เกิดกระบวนการคิดอย่างต่อเนื่อง และเป็นวิธีเรียนรู้ที่ดีกว่าการอ่านจากสื่ออินเทอร์เน็ตหรือ Youtube ซึ่งสื่อสารข้อความสั้น ๆ เพียง 3-4 บรรทัด ไม่ช่วยสื่อถึงความเป็นมาเป็นไปในเรื่องนั้น ๆ ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี ควรใช้ประโยชน์ในการค้นหาความรู้และถ่ายทอดความรู้สู่คนในครอบครัว ไม่ควรใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว และไม่ควรจะเชื่อทุกเรื่องที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ควรต้องวิเคราะห์ก่อนที่จะเชื่อเรื่องใด ส่วนในเรื่องของภาษาอังกฤษ ควรปรับการเรียนการสอนโดยเน้นฝึกพูดประโยคสนทนาที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น และเด็ก ๆ ไม่ต้องอายที่จะสื่อสารกับชาวต่างชาติ เพราะเขาพยายามที่จะเข้าใจเราอยู่แล้ว โดยส่วนตัว เชื่อมั่นว่าการศึกษาของไทยไม่ได้ล้มเหลว และแม้ที่ผ่านมาจะเปลี่ยนรัฐมนตรีมาหลายคนก็ไม่กระทบมาก เพราะทุกอย่างอยู่ที่การบริหารจัดการ แผนงาน และเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งย้ำตลอดว่าให้สอนเด็กให้มีความรู้คู่คุณธรรม และผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ เช่น ผลิตคนโดยดูความต้องการของตลาดเป็นที่ตั้ง ประสานและหาข้อมูลความต้องการจากกระทรวงแรงงาน เพื่อผลิตให้เพียงพอและตรงกับสาขาที่ขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยเพื่อรองรับการขับเคลื่อน Thailand 4.0, วิศวกรด้านต่าง ๆ รองรับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ของประเทศ เป็นต้น ในส่วนของครูผู้สอน การอบรมครูที่ดำเนินการขณะนี้ อาจยังไม่ทันการณ์ ขอให้หาแนวทางปรับวิธีสอนของครูให้ดีขึ้น หรือนำครูที่มีชื่อเสียงมาสอนผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการต้องพัฒนาขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนกับครูที่เก่งเหมือน ๆ กัน นอกจากนี้ได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการเพิ่มข้อสอบเป็นคะแนนเสริมใน 2 ส่วน คือ 1) ข้อสอบเชิงคุณธรรมจริยธรรม 2) ข้อสอบเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วย ทั้งนี้ ในช่วงท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวฝากให้ผู้ที่ได้รับรางวัลมีความภาคภูมิใจในตนเอง และเป็นแบบอย่างให้เยาวชนและประเทศชาติ พร้อมทั้งช่วยกันทำให้การศึกษาไทยดีขึ้นด้วยตัวของเราเองด้วย จากนั้น รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบโล่รางวัลให้แก่เด็กและเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจากทุกสังกัดทั่วประเทศ จำนวน 781 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) เด็กและเยาวชนดีเด่น จำนวน 552 คน ซึ่งคัดเลือกจากความประพฤติดี เรียนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด กตัญญูช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง และอุทิศตนเพื่อส่วน 2) เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ จำนวน 229 คน แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ 93 คน, ด้านศิลปะและดนตรี 50 คน, ด้านคุณธรรมจริยธรรม 23 คน, ด้านกีฬาและนันทนาการ 43 คน และด้านทักษะฝีมือ วิชาชีพ 20 คน

โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวให้โอวาทมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า การจัดงานวันเด็กและการนำเด็กและเยาวชนดีเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้กระทำความดีในด้านต่างๆ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนในอนาคต และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนเอง ตลอดจนปลูกฝังให้มีส่วนร่วมในสังคม เป็นกำลังสำคัญของชาติ ตามคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2560 ที่ว่า “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง” กระทรวงศึกษาธิการ ได้พยายามที่จะขับเคลื่อนงานให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) โดยในส่วนของการศึกษามีความเกี่ยวข้องใน 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งจะขออธิบายสรุปอย่างง่าย คือ 1) ด้านความมั่นคง ที่จะต้องส่งเสริมและสอนให้นักเรียนรู้ความเป็นมาของตนเอง รู้ประวัติศาสตร์ของชาติไทย สนับสนุนและช่วยเหลือการศึกษาในพื้นที่ชายขอบและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีความพร้อมทุกด้านมากขึ้น 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสร้างศักยภาพเด็กไทยในเวทีนานาชาติ เช่น การเพิ่มทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษางานวิจัย การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การค้าขายกับต่างชาติ, การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์, การยกระดับอาชีวศึกษาให้เป็นมืออาชีพ เป็นต้น 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ คือการทำให้เด็กเก่ง โดยเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา ที่จะต้องให้ได้เรียนกับครูที่ดีและเก่ง เพื่อหวังให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขณะนี้ยังมีเด็กอีกกว่า 7 ล้านคน ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เป็นเด็กยากจน และไม่ได้มีโอกาสเท่ากับทุกคนที่อยู่ ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ ที่เปรียบเสมือนโรงเรียน ICU กว่า 10,000 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้มีห้องเรียนที่เพียงพอ มีครูครบชั้น มีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครัน 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การดำเนินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ แน่นอนว่ายุทธศาสตร์ข้างต้นทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการปรับปรุงการทำงานของภาครัฐไปพร้อมกันด้วย และย้ำว่าต้องการให้เด็กทุกคนมีความฝัน โดยกระทรวงศึกษาธิการจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อนำพาเด็กไปสู่ความฝันให้ได้ ดังเช่นคำที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้ว่า “Education Pass” ที่จะทำให้การศึกษานำพาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามนโยบายรัฐบาลด้วย นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบจากรัฐบาลให้เร่งดำเนินการให้เด็กมีโอกาสได้เรียนกับครูที่เก่ง ๆ ครูที่ดี ๆ อย่างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ จึงเตรียมการที่จะเชิญครูในสังกัดและครูจากภายนอกที่เก่งในแต่ละสาขาวิชามาช่วยสอน เช่น ครูพี่แนน ครูอุ๊ ครูสมศรี ครูลิลลี่ เป็นต้น โดยจะจัดทำในรูปแบบคลิปวีดิทัศน์เผยแพร่ในคลังความรู้ของกระทรวงศึกษาธิการและทางสื่ออินเทอร์เน็ต ตลอดจนผลิตเป็นซีดีสื่อการสอนส่งให้กับโรงเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงเรียนห่างไกลให้ได้เรียนรู้กับครูเก่งอย่างทั่วถึงมากขึ้น สิ่งสุดท้ายที่ต้องการฝากไว้กับเด็กและเยาวชนคือ ขอให้อ่านหนังสือให้มาก ๆ เพราะนักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง ๆ หรือคนที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อ่านมาก ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ได้เรียนรู้ว่าบรรพบุรุษได้คิดและสร้างอะไรไว้แล้วบ้าง แต่ก็ขอให้อ่านให้ถูก ไม่ควรอ่านเฉพาะข้อความสั้น ๆ ที่ส่งต่อมาทางไลน์หรือทางสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น เพราะสื่อเหล่านั้นไม่ได้ทำให้เราเรียนรู้ได้ดีเท่ากับการอ่านหนังสือ สิ่งสำคัญคือ ขอให้ทุกคนขยันและมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ ดังคำที่ว่า “Work Hard Be Nice” Cr.ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี

กลุ่มประชาสัมพันธ์ 11 มกราคม 2560

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา