Archive

Posts Tagged ‘กรุงเทพมหานคร’

นายบุญประเสริฐ ไชยศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนยางโกนวิทย์

1056102.jpg

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนยางโกนวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔

วิทยะฐานะ ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ

๑.๑ ชื่อ นายบุญประเสริฐ นามสกุล ไชยศิริ เกิดวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุ ๕๗ ปี ๓ เดือน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนยางโกนวิทย์ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ อันดับ คศ.๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) วุฒิทางลูกเสือที่ได้รับจากการฝึกอบรม ขั้นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ วูดแบดจ์ ๔ ท่อน (Leader Trainers) ตำแหน่งทางลูกเสือ

ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ทำงานสาธารณประโยชน์จิตอาสา ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการชมรมชาวอยุธยา จังหวัดอุดรธานี สำเร็จการอบรมหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สจว. สพฐ.) รุ่นที่ ๒ ได้รับคำสั่งแต่ตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นคณะทำงานวิจัยและพัฒนา“ปัจจัยและแนวทางพัฒนาโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล

อย่างยั่งยื่น” โทรศัพท์มือถือ ๐๘๑-๘๗๓๘๙๙๑ e-mail : yangkon1@gmail.com

๑.๒ ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๒๒๐ หมู่ที่ ๘ บ้านศรีสำราญ ถนนชนบทบำรุง ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ ๔๑๑๖๐

๑.๓ คู่สมรส นางสุนันทา ไชยศิริ อาชีพรับราชการครู วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ อันดับ คศ.๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๒ ชื่อ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) โรงเรียนบ้านดงหวายดงขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

๑.๔ บุตร ๒ คน น.ส.ชื่นสุกล ไชยศิริ สำร็จการศึกษา หลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาชีพรับราชการครู โรงเรียนกลางใหญ่นิโรจรังสีอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ น.ส.ดลฤดี ไชยศิริ กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ ๔ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

– พ.ศ.๒๕๒๑ ม.ศ.๕ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

– พ.ศ.๒๕๒๕ การศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพิษณุโลก

– พ.ศ.๒๕๓๗ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

– พ.ศ.๒๕๕๐ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

พ.ศ.๒๕๒๗ อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนบ้านจอมศรี สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๓๔ อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ โรงเรียนบ้านดงหมู สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๓๖ อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ โรงเรียนบ้านหนองนกเขียน สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๓๗ ช่วยปฏิบัติราชการกองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๔๑ อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนบริบาลภูมิเขตต์ สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๔๓ อาจารย์ใหญ่ ระดับ ๗ โรงเรียนบ้านนางาม สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๔๖ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๘ โรงเรียนบ้านนางาม สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๔๙ ผู้อำนวยการโรงเรียน คศ.๓ โรงเรียนบ้านโนนทอง สพท.อด.๔ จ.อุดรธานี (สพฐ.ศธ)

พ.ศ.๒๕๕๒ – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียน คศ.๓ โรงเรียนยางโกนวิทย์ สพป.อด.๔ จ.อุดรธานี (สพฐ.ศธ)

๑. รางวัล เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี ๒๕๕๗ รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

๒. รางวัล สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดับเงิน (เสมา ป.ป.ส.) ประจำปี ๒๕๕๘ รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม

๓. รางวัล MOE AWARDS สาขาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี ๒๕๕๘ รับรางวัลจากรัฐมนตรี

ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม

๔. รางวัล ทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมโรงเรียนขยายโอกาส

ทางการศึกษา ด้านวิชาการ ชนะเลิศเหรียญทอง ระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๕๙ รับรางวัลจาก นายบุญลักษณ์ ยอดเพชร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ โรงแรมริเวอร์ไซค์ กรุงเทพมหานคร

๕. รางวัล ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระดับประเทศ ด้านพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี ๒๕๕๙ รับรางวัลจาก ประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ณ หอประชุมศูนย์ราชการ

แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

๖. รางวัล คุรุคุณธรรม ระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๕๙ รับรางวัลจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

๗. รางวัล ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ระดับประเทศ ประเภทผู้บริหาร ประจำปี ๒๕๕๙

๘. รางวัล สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ดีเด่น อันดับ ๑ ระดับทอง ประจำปี ๒๕๕๙ รับรางวัลจากนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันโอชา

05 มีนาคม 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ. แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ณPleasure Ballroom ชั้น ๒ โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพมหานคร

February 23, 2018 Leave a comment

1053521.JPG

***วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 นางสุกัญญา งามบรรจง รองเลขาธิการ กพฐ. แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2561 ณ Pleasure Ballroom ชั้น 2 โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยการประกวดหนังสือดีเด่นจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหนังสือ ให้ผลิตงานที่ประณีต มีคุณค่า และมีสารประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้งสนับสนุนให้ผู้อ่านรู้จักเลือกหาหนังสือที่มีคุณค่ามีสารประโยชน์ และมีความเหมาะสมมาอ่าน เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พร้อมด้วยกระตุ้นนิสัยรักการอ่านของคนไทย นางสุกัญญา งามบรรจง กล่าวว่า โครงการประกวดหนังสือดีเด่น ได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2515 โดยเป็นโครงการที่ได้มอบหมายให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ เป็นผู้ดำเนินการในช่วงระยะแรกเพื่อร่วมฉลองปีหนังสือสากลตามข้อเสนอแนะของยูเนสโก ข้อหนึ่งคือ “รัฐบาลและองค์กรอาชีพที่เกี่ยวข้องอาจร่วมกันจัดหารางวัลพิเศษ เช่น รางวัลทางวรรณกรรม รางวัลเรียงความของนักเรียน รางวัลการออกแสตมป์ รางวัลหนังสือราคาถูก เป็นต้น” ต่อมาปี พ.ศ. 2516 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ โดยมีศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นฝ่ายเลขานุการ ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ จึงได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการประกวดหนังสือดีเด่นตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึง พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการใหม่ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เป็นผู้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือดีเด่นเป็นประจำทุกปี ซึ่ง สพฐ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหนังสือ และการอ่านว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยพัฒนาความคิด สติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกกลุ่มทุกวัย อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบกับรางวัลหนังสือดีเด่นเป็นที่ยอมรับในสังคมการอ่านด้วยดี อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมผลิตหนังสือที่มีคุณภาพ และสารประโยชน์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 เป็นการประกวดหนังสือที่ตีพิมพ์โฆษณาเป็นเล่มบริบูรณ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 สำหรับปีนี้ มีผู้ประพันธ์ ผู้จัดพิมพ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมส่งหนังสือประกวดรวมจำนวนทั้งสิ้น 338 เรื่อง แยกเป็นกลุ่มหนังสือต่างๆ ได้แก่ หนังสือสารคดี หนังสือนวนิยาย หนังสือกวีนิพนธ์ หนังสือรวมเรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ และหนังสือสวยงาม โดยผลการพิจารณาตัดสินรางวัลหนังสือดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2561 มีหนังสือได้รับรางวัล 52 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 11 เรื่อง รางวัลชมเชย 41 เรื่อง ดังต่อไปนี้ รางวัลดีเด่น ได้แก่ หนังสือสารคดี เรื่อง นนทบุรีศรีมหานคร โดย พิศาล บุญผูก สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช / หนังสือนวนิยาย ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล / หนังสือกวีนิพนธ์ ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล / หนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่อง ลืมตาตื่นอีกครั้ง…ในเวลาอันสมควร โดย ปองวุฒิ รุจิระชาคร แพรวสำนักพิมพ์ / หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี เรื่อง นกป่ากับปู่ต้นไม้ โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์ และสุดไผท เมืองไทย บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด / หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6 – 11 ปี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง โลกของมดแดงกับแตงกวา (เอยด้วย!) โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด 2. ประเภทสารคดี เรื่อง พระพุทธเจ้า ศาสดาผู้รู้แจ้งด้วยตนเอง โดย สุทธิลักษณ์ น้อยหร่าย อมรินทร์คอมมิกส์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด / หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล 2. ประเภทสารคดี เรื่อง วิถีแห่งไทย… สายธารแห่งปัญญา โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 3. ประเภทบทร้อยกรอง เรื่อง รวมบทร้อยกรอง ร้อยกลอน โดย ชวิน พงษ์ผจญ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต / หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การ์ตูน และ หรือนิยายภาพทั่วไป เรื่อง ความสุขของกะทิ ฉบับลายเส้น โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ แพรวสำนักพิมพ์ 2. การ์ตูน และ หรือนิยายภาพสำหรับเด็ก เรื่อง ล่าขุมทรัพย์อาเซียน: สิงคโปร์ โดย ป๋าสนิท และกฤษดา พึงปิติพรชัย บริษัท นานมีบุ๊คส์จำกัด / หนังสือสวยงาม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป เรื่อง สมุดภาพสยามเรเนซองส์ : ความทรงจำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1 REMINISCENCE OF RATTANAKOSIN I (1851 – 1911) โดย หม่อมหลวงภัคภรจันท์ เกษมศรี สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก เรื่อง ในดวงใจนิรันดร์ Still on My Mind โดย ธัมม์ ศิริพรมรินทร์ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด รางวัลชมเชย สำหรับ หนังสือสารคดี มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. จากรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 9 : อีกย่างก้าวของพระบรมเดชานุภาพ โดย สมโชติ อ๋องสกุล ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา โดย ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สำนักพิมพ์เมืองโบราณ 3. เรย์นัลโด อิเลโต้ : มวลชนคนชั้นล่าง ประวัติศาสตร์แห่งชาติ และความรู้แบบอาณานิคม โดย ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักพิมพ์สมมติ / หนังสือนวนิยาย มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. กรงกรรม โดย จุฬามณี บริษัท สำนักพิมพ์แสงดาว จำกัด 2. กระหนกนที โดย ยุวดี มณีกุล สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม 3. ม่านชีวิต โดย ธนายุทธ ลีห์ขจร บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด / หนังสือกวีนิพนธ์ มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ใจธรรมชาติ โดย ‘กุดจี่’ พรชัย แสนยะมูล หจก. ไม้ยมก ไม้ยมก ยกกำลังฝัน 2. แนบเกล้าเนากาล รวมบทร้อยกรอง โดย ชวิน พงษ์ผจญ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต 3. ระหว่างทางกลับบ้าน โดย อังคาร จันทาทิพย์ ผจญภัยสำนักพิมพ์ / หนังสือรวมเรื่องสั้น มี 2 เรื่อง ได้แก่ 1. นักแสดงสด โดย สาคร พูลสุข แพรวสำนักพิมพ์ 2. เสน่หานุสรณ์ โดย เงาจันทร์ แพรวสำนักพิมพ์ / หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. คนนี้คือใคร โดย สุมาลี นานมีบุ๊คส์คิดดี้ 2. ผ้าห่มวิเศษของนิ้งหน่อง โดย มณิศา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด 3. ลูกฉันหายไปไหน โดย ธารินี เหลืองอารีพร บริษัทพาส เอ็ดดูเคชั่น จำกัด / หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี แบ่งเป็นประเภท 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. ป่าต้องห้าม โดย พรชัย แสนยะมูล สำนักพิมพ์เบสต์โฟร์คิดส์ 2. ผ่อผนัง ฟังนิทาน โดย อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย 3. เรารักในหลวง โดย กองบรรณาธิการแพรวเพื่อนเด็ก สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก 2. ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. ความลับของแมว โดย ณิชา พีชวณิชย์ บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด 2. ติ๊ด ติ๊ด…สนุกคิดบ้านสวน โดย รัตนา คชนาท บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด 3. อมตะผีรอบโลก โดย ณัฐชนัน โฆษิตาภรณ์ บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด / หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. เด็กชายที่ปลอมตัวเป็นหนังสือ, ดอกไม้ และอื่น ๆ โดย ปะการัง สำนักพิมพ์เช้าวันอาทิตย์ 2. บึงน้ำแห้ง โดย โชติ ศรีสุวรรณ สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ 3. อัศวินอุตุกับปีศาจทั้งแปด โดย ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร สำนักพิมพ์ภูตะวัน 2. ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. เทใจให้สเปน Spain’s Great Time โดย วันฉัตร ชินสุวาเทย์ บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าวัยรุ่น โดย หมอจริง สปริงบุ๊กส์ 3. How deep is your dream โดย สุดารัตน์ เทียรจักร์ สำนักพิมพ์บันบุ๊คส์ 3. ประเภทบทร้อยกรอง มี 3 เรื่อง คือ 1. ดินแต้มดาว โดย อนุวัฒน์ แก้วลอย โรงนาบ้านไร่ 2. รวมบทกวี “เก็จแก้วกรองกานท์” โดย สุปาณี พัดทอง บริษัท ออน อาร์ต ครีเอชั่น จำกัด 3. เรืองแสงแห่งหัวใจ โดย นิวรรฒก์ ทองจำปา บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด / หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป มี 3 เรื่อง คือ 1. กระบี่หยามยุทธภพ โดย หมู นินจา (สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์) บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. พระเจ้า 500 ชาติ โดย โอม รัชเวทย์และคณะ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด 3. หมาจ๋า Therapy หมาจ๋ารักษาใจ โดย ณัฐวีร์ ลิมปนิลชาติ บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก มี 3 เรื่อง คือ 1. ท่องแดนไดโนเสาร์ ตอน แผ่นดินเปลี่ยนแปลง โดย จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์ และอำพวรรณ ทิวไผ่งาม บริษัท สำนักพิมพ์ เวิลด์คิดส์ จำกัด 2. มอนสเตอร์ในเงามืด โดย มนต์ชัย และ สิริน บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด 3. เมฆของพระราชา โดย กองบรรณาธิการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด / หนังสือสวยงาม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป มี 3 เรื่อง คือ 1. ปฐมบทแห่ง สยาม – ไทย ณ ห้วงกาล ถวายคารวาลัย Siam-Thai Between Time : The Genesis Homage to a Beloved Monarch โดย ณัฐสุดา จันทระ บริษัท คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์ จำกัด 2. วิถีแห่งไทย… สายธารแห่งปัญญา โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 3. สืบสานศิลป์ ในแผ่นดินพระทรงธรรม โดย วงเดือน นาราสัจจ์ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก มี 3 เรื่อง คือ 1. ครอบครัวสุขสันต์ สงกรานต์สุขใจ โดย ภัทรวลี นิ่มนวล บริษัท สำนักพิมพ์โลกหนังสือ จำกัด 2. จุ๊ จุ๊… เงียบหน่อยนะจ๊ะ โดย รัตนา คชนาท สำนักพิมพ์ HELLO KIDS 3. พระมหาชนก วิริยะบารมี โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์ สำนักพิมพ์ทองเกษม อนึ่ง ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ และการประกาศผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

23 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ.ร่วมสพม.๓๒(บุรีรัมย์) ค้นหานักเรียนความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ดนตรีนาฏศิลป์

January 25, 2018 Leave a comment

1039964.JPG

นายรณชัย สุขสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (บุรีรัมย์) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ (Roadshow) แก่นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดขึ้น 4 ภาค ภาคกลาง วันที่ 23 – 24 ธันวาคม 2560 ณ โรงเรียนหอวัง กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ วันที่ 6 – 7 มกราคม 2561 ณ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ภาคใต้ วันที่ 27 – 28 มกราคม 2561 ณ โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 20 – 21 มกราคม 2561 ที่โรงเรียนพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนักเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 190 คน ดังนี้ สาขาทัศนศิลป์ จำนวน 30 คน สาขาดนตรีไทย จำนวน 30 คน สาขาดนตรีสากล จำนวน 64 คน สาขานาฏศิลป์ จำนวน 39 คน สาขาขับร้องประสานเสียง จำนวน 27 คน นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์อีกจำนวนมาก

ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์โครงการแก่ครู และนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งยังเป็นการพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ เพราะมีความเชื่อว่าศิลปะทุกแขนงเป็นบ่อเกิดแห่งความคิดสร้างสรรค์ เป็นเครื่องจรรโลงใจให้ผู้คนมีความสุข โดยโครงการดังกล่าวมีกระบวนการดำเนินงานประกอบด้วยการค้นหา คัดกรอง พัฒนา และส่งต่อนักเรียนให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขา อาทิ คุณครูสังคม ทองมี ร้อยเอกสมนึก แสงอรุณ ดร.สุขสันติ แวงวรรณ ดร.หฤทัย นัยโมกข์ ดร.ภาวศุทธิ์ พิริยะพงษ์รัตน์ คณะวิทยากรจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้แก่ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนดนตรีสาธุการ เพื่อให้ความรู้ และพัฒนาทักษะ รวมทั้งพิจารณาเฟ้นหานักเรียนผู้ที่มีความสามารถพิเศษในแต่ละสาขาเข้าร่วมกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะในโอกาสต่อไป

นายรณชัย กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนในทุกภูมิภาคได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับการศึกษาสำหรับเด็ก ผู้มีความสามารถพิเศษ ซึ่งครูผู้สอน และโรงเรียนจะได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนเด็ก ผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างถูกต้องต่อไป

24 มกราคม 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ. จับมือ เนสเล่ เปิดตัวโครงการ (Kick Off) ฝึกทักษะกีฬานักเรียนไทยณ ลานจอดรถ อาคาร สพฐ. ๔ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

January 10, 2018 Leave a comment

1032308.JPG

***9 มกราคม 2560 ณ ลานจอดรถ อาคาร สพฐ. 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ บริษัท เนสเล่ (ไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ (Kick Off) MILO Sports Development Program in Schools ซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ประกอบด้วยกิจกรรมการอบอุ่นร่างกายผ่านการเต้นแอโรบิก และแอโรบิกมวยไทย ตามด้วยการออกกำลังกายกระโดดเชือก และเตะฟุตบอล ผ่านคำแนะนำของวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมฝึกสอนฟุตบอลพิเศษสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 หรือนักกีฬาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านความร่วมมือจากอดีตนักฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทยและทีมงานซึ่งมีประสบการณ์ด้านเทคนิคพิเศษฟุตบอล

นายสนิท แย้งเกสร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เด็กไทยเติบโตอย่างสมวัยและมีร่างกายที่แข็งแรงผ่านการเล่นกีฬา รวมถึงส่งเสริมให้เด็กได้รับการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในเด็กนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 7-12 ปี (นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) ขณะที่การสอนทักษะและแนะนำเทคนิคการเล่นฟุตบอลให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3-6 ให้ทางโรงเรียนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนนักเรียนระดับชั้น ป.1-ป.6 มากกว่า 500 คนขึ้นไป รวมนักเรียนคละกันมาตั้งแต่ ป.3-ป.6 ประมาณ 50 คน หรือมาระดับเดียว 50 คน หรือเป็นนักกีฬาโรงเรียนรวมกันมา 50 คน เพื่อเข้ารับการฝึกทักษะและแนะนำเทคนิคการเล่นฟุตบอลโดยมีเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนในการทำกิจกรรมซึ่งจะถูกจัดขึ้นอย่างเหมาะสมกับจำนวนนักเรียนและขนาดของโรงเรียน ตามเกณฑ์การคัดเลือก โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และโรงเรียนที่ห่างไกล ดังนี้ โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีจำนวนนักเรียน ป.1-ป.6 ไม่ต่ำกว่า 500 คน ในกรณีที่โรงเรียนขนาดใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร โรงเรียนจะต้องมีนักเรียนหรือนักกีฬา เข้าร่วมกิจกรรมฝึกทักษะฟุตบอลได้ จำนวน 50 คน จึงมีกิจกรรมฝึกสอนฟุตบอลจากอดีตนักฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทยและทีมงานซึ่งมีประสบการณ์ด้านเทคนิคฟุตบอล / โรงเรียนที่มีขนาดเล็ก จะต้องมีจำนวนนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ไม่ต่ำกว่า 300 คน / โรงเรียนที่ห่างไกล จะต้องมีจำนวนนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ไม่ต่ำกว่า 200 คน โดยที่โรงเรียนจะต้องเดินทางเข้าถึงได้โดยรถตู้ 4 ล้อ และโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้ทำกิจกรรมของไมโล จะต้องสามารถจัดสรรเวลาให้ทางไมโลจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ 1 ชั่วโมง รวมถึงจะต้องมีสถานที่จัดกิจกรรมรองรับจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ และโรงเรียนต้องอนุญาตให้นำภาพนึ่งหรือภาพเคลื่อนไหวไปเผยแพร่ได้ต่อไปนายสนิท แย้มเกสร กล่าวต่อไปว่า การจัดกิจกรรม MILO Sports Development Program in Schools มีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมนี้แล้วกว่า 142 โรงเรียน ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาเท่านั้น จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมและแจกไมโลให้กับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลหรือที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี อีกทั้งไมโล 3 in 1 มีส่วนผสมของนม เลซิตินจากถั่วเหลืองและมอลต์สกัดจากข้าวบาร์เล่ย์ หากนักเรียนคนใดมีอาการแพส่วนผสม 3 ชนิดนี้ ให้ทางโรงเรียนดำเนินการแจ้งเด็กนักเรียนงดเข้าร่วมรับแจกไมโลชงชิม อีกทั้งยังหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมและปลูกจิตสำนึก และสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กไทยรักการเล่นกีฬา และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จในอนาคตต่อไป

บรรพต ข่าว/สุชาติภาพ

09 มกราคม 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

เลขาธิการ กพฐ.เปิดเวทีสภากาแฟรับฟังข้อเสนอลดเหลื่อมล้ำตอบโจทย์ความต้องการของนักเรียน ณโรงเรียนพุทธจักรวิทยา กรุงเทพมหานคร

November 6, 2017 Leave a comment

1010413.JPG

***6 พฤศจิกายน 2560 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม 4 ส. สนทนาสภากาแฟ “ร้อยรัก ประสานใจ สู่รั้วโรงเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ ก้าวนำสู่คุณภาพ” ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนพุทธจักรวิทยา กรุงเทพมหานคร

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีระหว่างองค์กร โดย 4 ส. มีความหมายถึง 4 ประสาน ส.1 คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส.2 คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 (สพม.2) ส.3 คือ สหวิทยาเขต (กลุ่มโรงเรียน) และ ส.4 คือ สถานศึกษา โดยการจัดประชุมในลักษณะของสภากาแฟสัญจรไปตามเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามสหวิทยาเขตและ/หรือ กลุ่มโรงเรียน ระหว่าง สพม.1 สพม.2 และ สพป. เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไป ทั้งนี้ โรงเรียนที่จะเป็นเจ้าภาพจัดสภากาแฟให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานสหวิทยาเขตหรือประธานกลุ่มโรงเรียน

โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวทำให้รับรู้ถึงการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในพื้นที่ ความต้องการในด้านต่าง ๆ อีกทั้ง จะได้ทราบถึงโปรแกรมการจัดการเรียนของชั้น ม.ต้น ว่ามีความหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของนักเรียนเพื่อให้ค้นพบตัวตน และระดับ ม.ปลาย เป็นไปเพื่อฝึกฝน เพิ่มเติมการเรียนในโปรแกรมที่มีความสนใจ มีความถนัด เพื่อนำสู่การศึกษาต่อในสายอาชีพที่ถนัดและสนใจต่อไปหรือไม่ อย่างไร และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนสื่อสารและรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ในการบริหารจัดการศึกษา ทั้งในระดับ สพฐ./สพม. สหวิทยาเขต และสถานศึกษา สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบาย โดยมุ่งเน้นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเชิงมิติสัมพันธ์ของบุคลากรทั้ง 4 องค์กร “ทั้งนี้ นอกจากการพบปะเพื่อรับฟังข้อมูลแล้ว ยังได้รับฟังวิธีคิด เพื่อสามารถนำมาเติมเต็มในการทำงานของ สพฐ. ได้ ขณะเดียวกันในบางกรณีอาจจะต้องเชิญชวนให้ สพท. ได้เปลี่ยนวิธีคิดให้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อนำไปสู่การ “ลดความเหลื่อมล้ำ ก้าวนำสู่คุณภาพ” โดยการลดความเหลื่อมล้ำคือต้องพิจารณาจากโรงเรียนที่ยังต้องพัฒนา ขณะที่การก้าวนำสู่คุณภาพคือจะต้องไม่ยึดติดกับรางวัลที่มีอยู่ แต่ให้มองย้อนกลับไปดูว่าทำไมประเทศเราถึงอยู่ตรงนี้ ในขณะที่โรงเรียนหลายแห่งได้รับรางวัลที่เป็นจุดสูงสุดของประเทศ แต่ทำไมการศึกษาเราถึงอยู่เพียงเท่านี้ นั่นอาจหมายความว่ารางวัลต่างๆ อาจจะเป็นกับดักหรือไม่ใช่ขีดสุดที่ทำให้ประเทศไทยของเราเจริญ ซึ่งในจุดนี้เราจะต้องทะลุบางเรื่องที่เป็นกรอบออกไปให้ได้ โดยการกำหนดรางวัลดีเด่นหรือรางวัลในประเภทต่างๆ ในระดับหนึ่ง ทำให้โรงเรียนมีจุดเทียบได้ว่าประสบความสำเร็จแล้ว แต่ในขณะเดียวกันเราสามารถพัฒนาให้มากกว่าที่เป็นอยู่ได้ นั่นคือเรื่องของการก้าวนำสู่คุณภาพ โดยมุ่งไปที่ 2 จุด คือจุดที่เหลื่อมล้ำ หมายถึงจุดที่ยังไม่มีคุณภาพ และจุดที่ก้าวนำคุณภาพ ซึ่งหมายถึงโรงเรียนที่มีศักยภาพอยู่แล้วและต้องขยายผลต่อไป โดยมองเป้าหมายไปที่การแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Benchmark) อย่างเช่น การเปรียบเทียบสิ่งที่ดีกับประเทศสิงคโปร์ หรือประเทศอื่นๆ โดยจะไม่ยึดติดกับรางวัล สุดท้ายแล้ว การแลกเปลี่ยนความรู้จะทำให้รู้ว่าตัวตนเราอยู่ตรงไหน ทิศทางที่ควรจะเดินไปทางไหน ซึ่งต่อไปจะต้องลดการบริหารให้เป็นไปตามความถนัด แต่ยังคงจุดแข็งไว้ โดยเน้นย้ำให้พิจารณาถึงคุณภาพของโรงเรียน หากว่าติดขัดปัญหาด้านใดก็จะต้องแลกเปลี่ยนความรู้กับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ และหาจุดแข็งร่วมกัน” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

บรรพต/หยก/ก้อย ข่าวและภาพ

06 พฤศจิกายน 2560

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สอศ.-กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมอบทุนต่อเนื่องปีที่ ๑๐ ปั้นช่างเทคนิควิศวะเคมี

0.JPG

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รับมอบเงินทุนสนับสนุนจากกลุ่มอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 8,500,000 บาท ประจำปีการศึกษา 2560 เพื่อใช้ในโครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมเคมี Vocational Chemical Engineering Practice College (V-ChEPC) วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด ณ ห้องประชุม 5 สอศ. กรุงเทพมหานคร ดร.ประชาคม จันทรชิต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่าโครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมเคมี หรือวีเชฟ ซึ่งจัดการเรียนการสอน ณ วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้รับการยอมรับว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จมากในการพัฒนานักศึกษาอาชีวะ สาขาปิโตรเคมี ให้เป็นคนเก่งทั้งทักษะวิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม มีกระบวนการคิดและวิธีทำงานที่เป็นระบบ โดยมีรูปแบบการเรียน การสอนด้วยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ที่พัฒนาทักษะชีวิต เชื่อมโยงกับโลกการทำงาน และการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีมาอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องถึงปัจจุบันระยะเวลา10 ปี ซึ่งเป็นระยะที่ 4 (พ.ศ.2560-2562) ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษามีงานรองรับทั้งหมด คิดเป็น 100 % และได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในระดับเดียวกันรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่าในปีที่ 10 มีบริษัทในกลุ่มปิโตรเคมีสนับสนุนมอบทุนเพื่อสานต่อความร่วมมือโครงการวีเชฟ ระยะที่ 4 (ปี 2560-2562) ได้มอบเงินสนับสนุนจัดการเรียนการสอนประจำปีการศึกษา 2560 รวมจำนวนทั้งสิ้น 8,500,000 บาท ดังนี้บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มอบให้ปีละ 3,500,000 บาท บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มอบให้ปีละ 2,000,000 บาท บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) มอบให้ปีละ 1,000,000 บาท กลุ่มบริษัท อูเบะ (ประเทศไทย) มอบให้ปีละ 500,000 บาท กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย มอบให้ปีละ 500,000 บาท และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) มอบให้ปีละ 1,000,000 บาท โครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมเคมี Vocational Chemical Engineering Practice College (V-ChEPC) ฯ ได้เริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน อันได้แก่ วิทยาลัยเทคนิค (วท.) มาบตาพุด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มูลนิธิศึกษาพัฒน์ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในการผลิต พัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา โดยเฉพาะช่างเทคนิคที่มีความสามารถเฉพาะทางด้านปิโตรเคมี ปัจจุบันมีนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้วทั้งหมด 8 รุ่น จำนวน 280 คน ก้าวต่อไปของการพัฒนาโครงการฯ คือการสนับสนุนให้เป็นสถาบันเฉพาะทางด้านการผลิตและพัฒนาช่างเทคนิคปิโตรเคมี (Center of Excellence) เป็นศูนย์ทดสอบและพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพช่างเทคนิคปิโตรเคมี ได้รับการยอมรับในระดับสากล ขณะนี้ได้เริ่มทดลองรับนักศึกษาต่างชาติ (ติมอร์) เข้าเรียนเป็นปีแรก และกำลังพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในประเทศเยอรมนี เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ื กลุ่มประชาสัมพันธ์ / 8พฤษภาคม 2560

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ขอเชิญเข้าร่วมการออกแบบประกวดสัญลักษณ์สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย)

October 17, 2016 Leave a comment

สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) ขอเชิญนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมออกแบบประกวดสัญลักษณ์สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) ชิงเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

การสมัครและส่งผลงาน

• ส่งใบสมัครระหว่างวันที่ 17 – 25 ตุลาคม 2559

• ส่งผลงานระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 16 พฤศจิกายน 2559

• ส่งใบสมัครและผลงานทางอีเมล์: marketing@tica.or.th

• ดาวน์โหลดใบสมัครและรายละเอียดการแข่งขันได้ที่http://us7.campaign-archive2.com/… ติดต่อสอบถาม

• สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย)

เลขที่ 99/7 เดอะ เลกาซี วิภาวดี คอนโด

ถนนลาดพร้าว ซอย 8 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร

กรุงเทพมหานครฯ 10900

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: อินเตอร์เน็ต

ค่ายขจีแคมป์ครั้งที่ ๗ (๗th KGE CAMP)

August 23, 2016 Leave a comment

รับสมัครนักเรียนม.ปลายสายวิทย์-คณิต 100 คน เข้าสู่ ค่ายขจีแคมป์ครั้งที่ 7 (7th K’GE CAMP) วันที่ 14-16 ตุลาคม 2559 ณ อาคาร 1 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี และพื้นที่ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ค่าสมัคร 300 บาท

ประกาศผลรายชื่อผู้มีสิทธิ์ : 26 กันยายน 2559

ระดับการศึกษา :ม.ปลาย(สายวิทย์-คณิต)

ค่าใช้จ่าย : 300 บาท (ชำระเมื่อประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการแล้ว)

จัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

รายละเอียดค่าย:

โครงการค่ายขจีแคมป์ (K’GE Camp) เป็นโครงการที่ชุมนุมนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมีจัดขึ้น เพื่อรณรงค์ให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทย์-คณิต) และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโลกร้อน รู้จักการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด การประหยัดพลังงาน การนำวัสดุสิ่งของเหลือใช้มาสร้างพลังงานทดแทน การช่วยกันลดโลกร้อนจากสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถทำได้ รวมทั้งแนะนำหลักสูตรการเรียนการสอนของภาควิชาวิศวกรรมเคมี สายงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเคมีและบทบาทของวิศวกรรมเคมีในการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการฝึกให้ผู้เข้าร่วมได้ทำงานในระบบกลุ่ม และสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ทันตามระยะเวลาที่กาหนดได้ โดยมีการแข่งขัน และการแจกรางวัล นอกจากนี้ยังได้รับความสนุกสนานจากกิจกรรมและสันทนาการต่างๆ ซึ่งกิจกรรมและประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะทำให้ผู้เข้า ร่วมโครงการในค่ายมีความรักความเข้าใจ ในด้านเทคโนโลยีและด้านวิศวกรรม ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปอีกด้วย

ระเบียบการสามารถดาว์โหลดได้ที่:

https://drive.google.com/file/d/0B1W2zcn0VxUPZnl1cWtWb2ZVLTQ/view?pref=2&pli=1

ใบสมัครเข้าร่วมโครงการสามารถดาว์โหลดได้ที่:

https://drive.google.com/file/d/0B1W2zcn0VxUPWnVqVkt3QU1MRWc/view?pref=2&pli=1

กรอกข้อมูลให้ครบเรียบแล้ว แล้วส่งเอกสารมาทางไปรษณีย์

ส่งจดหมายมาตามที่อยู่ :

ค่าย K’GE CAMP ครั้งที่ 7 ประจำปี 2559 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

***ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางแฟนเพจ K’GE Camp#7 :https://www.facebook.com/kgecamp7/

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: อินเตอร์เน็ต

ร.ร.บ้านวังโพน สพป.มหาสารคาม เขต ๓ รับโล่รางวัลโรงเรียนปลอดขยะ ๖๑ พรรษาสมเด็จพระเทพฯ

860474.jpg

นายไพฑูรย์ ชาปัด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังโพน สพป.มหาสารคาม เขต 3 รับโล่รางวัล โรงเรียนปลอดขยะ (Zero waste school) เฉลิมพระเกียรติ 61 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 10,000บาท จากพลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในงานเวทีสัมมนา ECO school Forum ครูผู้สร้างพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยมีนางสาวภาวิณี ปุณณกัณต์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเจ้าภาพดำเนินโครงการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนบ้านวังโพน เป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Zero Waste School โรงเรียนปลอดขยะ โดยได้ผ่านการประกวดรอบแรก จากจำนวน 61 โรงเรียนทั่วประเทศ นับเป็นโรงเรียนตัวอย่างของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่จัดกิจกรรมปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคม สร้างความภาคภูมิใจให้กับครู นักเรียน และชุมชน ทำให้นักเรียนภูมิใจในการรักบ้านเกิดผ่านกิจกรรมปราบขยะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน พระราชดำริ“ตามรอยพ่อ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย

นัฐกัญญาพัชร รักสุทธี ครูโรงเรียนบ้านวังโพน : ภาพ/ข้อมูล

ทิพยฉัตร ฉัตรทอง นักประชาสัมพันธ์ : ข่าว

http://203.172.194.82/mk3/?p=4857

02 มิถุนายน 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

พิธีมอบจักรยานพระราชทาน จังหวัดอุตรดิตถ์

February 13, 2016 Leave a comment

824877.JPG

12 กุมภาพันธ์ 2559 นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธีมอบจักรย่นพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎพระราชทาน ณ ห้องประชุมเหล็กน้ำพี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 มอบให้ นายธีรยุทธ ทาปุก รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 กล่าวรายงาน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ขนย้ายจักรยานพระราชทานจาก กองทัพอากาศ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร นำส่งมอบให้กับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 และเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 (เฉพาะโรงเรียนในสังกัดจังหวัดอุตรดิตถ์) ที่ได้รับจักรยานพระราชทาน จำนวน 101 คัน โดย นายสุวัฒน์ชัย ศรีสุพัฒนะกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ ให้การสนับสนุนนำ อาจารย์ และนักศึกษามาดำเนินการตรวจสอบและปรับแต่งจักรยานพระราชทานให้มีสภาพที่สามารถใช้งานได้โดยสมบูรณ์ มีความเหมาะสมกับนักเรียนในการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ผู้บริหารจากหน่วยงานทางการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาจาก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 และเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ร่วมเป็นเกียรติในพิธีด้วย กรรณิกา ข่าว : ภาพ / ธราเทพ : รายงาน

12 กุมภาพันธ์ 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ