Archive

Posts Tagged ‘กระทรวงศึกษาธิการ’

นายบุญประเสริฐ ไชยศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนยางโกนวิทย์

1056102.jpg

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนยางโกนวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔

วิทยะฐานะ ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ

๑.๑ ชื่อ นายบุญประเสริฐ นามสกุล ไชยศิริ เกิดวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุ ๕๗ ปี ๓ เดือน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนยางโกนวิทย์ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ อันดับ คศ.๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) วุฒิทางลูกเสือที่ได้รับจากการฝึกอบรม ขั้นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ วูดแบดจ์ ๔ ท่อน (Leader Trainers) ตำแหน่งทางลูกเสือ

ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ทำงานสาธารณประโยชน์จิตอาสา ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการชมรมชาวอยุธยา จังหวัดอุดรธานี สำเร็จการอบรมหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สจว. สพฐ.) รุ่นที่ ๒ ได้รับคำสั่งแต่ตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นคณะทำงานวิจัยและพัฒนา“ปัจจัยและแนวทางพัฒนาโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล

อย่างยั่งยื่น” โทรศัพท์มือถือ ๐๘๑-๘๗๓๘๙๙๑ e-mail : yangkon1@gmail.com

๑.๒ ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๒๒๐ หมู่ที่ ๘ บ้านศรีสำราญ ถนนชนบทบำรุง ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ ๔๑๑๖๐

๑.๓ คู่สมรส นางสุนันทา ไชยศิริ อาชีพรับราชการครู วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ อันดับ คศ.๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๒ ชื่อ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) โรงเรียนบ้านดงหวายดงขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

๑.๔ บุตร ๒ คน น.ส.ชื่นสุกล ไชยศิริ สำร็จการศึกษา หลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาชีพรับราชการครู โรงเรียนกลางใหญ่นิโรจรังสีอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ น.ส.ดลฤดี ไชยศิริ กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ ๔ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

– พ.ศ.๒๕๒๑ ม.ศ.๕ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

– พ.ศ.๒๕๒๕ การศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพิษณุโลก

– พ.ศ.๒๕๓๗ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

– พ.ศ.๒๕๕๐ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

พ.ศ.๒๕๒๗ อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนบ้านจอมศรี สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๓๔ อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ โรงเรียนบ้านดงหมู สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๓๖ อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ โรงเรียนบ้านหนองนกเขียน สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๓๗ ช่วยปฏิบัติราชการกองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๔๑ อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนบริบาลภูมิเขตต์ สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๔๓ อาจารย์ใหญ่ ระดับ ๗ โรงเรียนบ้านนางาม สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๔๖ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๘ โรงเรียนบ้านนางาม สปอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (สปช.ศธ)

พ.ศ.๒๕๔๙ ผู้อำนวยการโรงเรียน คศ.๓ โรงเรียนบ้านโนนทอง สพท.อด.๔ จ.อุดรธานี (สพฐ.ศธ)

พ.ศ.๒๕๕๒ – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียน คศ.๓ โรงเรียนยางโกนวิทย์ สพป.อด.๔ จ.อุดรธานี (สพฐ.ศธ)

๑. รางวัล เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี ๒๕๕๗ รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

๒. รางวัล สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดับเงิน (เสมา ป.ป.ส.) ประจำปี ๒๕๕๘ รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม

๓. รางวัล MOE AWARDS สาขาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี ๒๕๕๘ รับรางวัลจากรัฐมนตรี

ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม

๔. รางวัล ทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมโรงเรียนขยายโอกาส

ทางการศึกษา ด้านวิชาการ ชนะเลิศเหรียญทอง ระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๕๙ รับรางวัลจาก นายบุญลักษณ์ ยอดเพชร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ โรงแรมริเวอร์ไซค์ กรุงเทพมหานคร

๕. รางวัล ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระดับประเทศ ด้านพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี ๒๕๕๙ รับรางวัลจาก ประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ณ หอประชุมศูนย์ราชการ

แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

๖. รางวัล คุรุคุณธรรม ระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๕๙ รับรางวัลจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

๗. รางวัล ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ระดับประเทศ ประเภทผู้บริหาร ประจำปี ๒๕๕๙

๘. รางวัล สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ดีเด่น อันดับ ๑ ระดับทอง ประจำปี ๒๕๕๙ รับรางวัลจากนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันโอชา

05 มีนาคม 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ชัยนาท รับการตรวจราชการกรณีปกติรอบ ๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑

February 27, 2018 Leave a comment

1054422.JPG

วันที่ 26 ก.พ.61 ดร.ลออ วิลัย ผอ.สพป.ชัยนาท ร่วมต้อนรับ ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ ซึ่งเดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการกรณีปกติ รอบ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เขตตรวจราชการที่ 2 หน่วยงานรับตรวจจังหวัดชัยนาท โดยในภาคเช้าเป็นการประชุมสรุปผลข้อมูลตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ณ ห้องประชุมนิธิปัญญา สพป.ชัยนาท จากนั้นลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนวัดเนินถ่าน อ.เมืองชัยนาท โดยโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ในชั้นเรียนรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน นำมาบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน สามารถอ่านออกเขียนได้ทุกคน พร้อมชมนิทรรศการกิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเขียน จากนั้นเข้าตรวจเยี่ยมโรงเรียนวัดศรีมงคล(สถิตมงคลราษฎร์อุปถัมภ์) อ.สรรพยา กิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้กระบวนการโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ ใช้หลักการทำทั้งโรงเรียน ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม และกิจกรรมต้องทำอย่างต่อเนื่อง พร้อมชมการนำเสนอโครงงานคุณธรรมของนักเรียนแต่ละชั้น (ป.1-ม.3) ธานี วงษ์ทอง ภาพ/ข่าว/พิมพ์

26 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ. แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ณPleasure Ballroom ชั้น ๒ โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพมหานคร

February 23, 2018 Leave a comment

1053521.JPG

***วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 นางสุกัญญา งามบรรจง รองเลขาธิการ กพฐ. แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2561 ณ Pleasure Ballroom ชั้น 2 โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยการประกวดหนังสือดีเด่นจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหนังสือ ให้ผลิตงานที่ประณีต มีคุณค่า และมีสารประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้งสนับสนุนให้ผู้อ่านรู้จักเลือกหาหนังสือที่มีคุณค่ามีสารประโยชน์ และมีความเหมาะสมมาอ่าน เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พร้อมด้วยกระตุ้นนิสัยรักการอ่านของคนไทย นางสุกัญญา งามบรรจง กล่าวว่า โครงการประกวดหนังสือดีเด่น ได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2515 โดยเป็นโครงการที่ได้มอบหมายให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ เป็นผู้ดำเนินการในช่วงระยะแรกเพื่อร่วมฉลองปีหนังสือสากลตามข้อเสนอแนะของยูเนสโก ข้อหนึ่งคือ “รัฐบาลและองค์กรอาชีพที่เกี่ยวข้องอาจร่วมกันจัดหารางวัลพิเศษ เช่น รางวัลทางวรรณกรรม รางวัลเรียงความของนักเรียน รางวัลการออกแสตมป์ รางวัลหนังสือราคาถูก เป็นต้น” ต่อมาปี พ.ศ. 2516 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ โดยมีศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นฝ่ายเลขานุการ ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ จึงได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการประกวดหนังสือดีเด่นตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึง พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการใหม่ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เป็นผู้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือดีเด่นเป็นประจำทุกปี ซึ่ง สพฐ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหนังสือ และการอ่านว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยพัฒนาความคิด สติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกกลุ่มทุกวัย อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบกับรางวัลหนังสือดีเด่นเป็นที่ยอมรับในสังคมการอ่านด้วยดี อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมผลิตหนังสือที่มีคุณภาพ และสารประโยชน์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 เป็นการประกวดหนังสือที่ตีพิมพ์โฆษณาเป็นเล่มบริบูรณ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 สำหรับปีนี้ มีผู้ประพันธ์ ผู้จัดพิมพ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมส่งหนังสือประกวดรวมจำนวนทั้งสิ้น 338 เรื่อง แยกเป็นกลุ่มหนังสือต่างๆ ได้แก่ หนังสือสารคดี หนังสือนวนิยาย หนังสือกวีนิพนธ์ หนังสือรวมเรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ และหนังสือสวยงาม โดยผลการพิจารณาตัดสินรางวัลหนังสือดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2561 มีหนังสือได้รับรางวัล 52 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 11 เรื่อง รางวัลชมเชย 41 เรื่อง ดังต่อไปนี้ รางวัลดีเด่น ได้แก่ หนังสือสารคดี เรื่อง นนทบุรีศรีมหานคร โดย พิศาล บุญผูก สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช / หนังสือนวนิยาย ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล / หนังสือกวีนิพนธ์ ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล / หนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่อง ลืมตาตื่นอีกครั้ง…ในเวลาอันสมควร โดย ปองวุฒิ รุจิระชาคร แพรวสำนักพิมพ์ / หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี เรื่อง นกป่ากับปู่ต้นไม้ โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์ และสุดไผท เมืองไทย บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด / หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6 – 11 ปี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง โลกของมดแดงกับแตงกวา (เอยด้วย!) โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด 2. ประเภทสารคดี เรื่อง พระพุทธเจ้า ศาสดาผู้รู้แจ้งด้วยตนเอง โดย สุทธิลักษณ์ น้อยหร่าย อมรินทร์คอมมิกส์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด / หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล 2. ประเภทสารคดี เรื่อง วิถีแห่งไทย… สายธารแห่งปัญญา โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 3. ประเภทบทร้อยกรอง เรื่อง รวมบทร้อยกรอง ร้อยกลอน โดย ชวิน พงษ์ผจญ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต / หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การ์ตูน และ หรือนิยายภาพทั่วไป เรื่อง ความสุขของกะทิ ฉบับลายเส้น โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ แพรวสำนักพิมพ์ 2. การ์ตูน และ หรือนิยายภาพสำหรับเด็ก เรื่อง ล่าขุมทรัพย์อาเซียน: สิงคโปร์ โดย ป๋าสนิท และกฤษดา พึงปิติพรชัย บริษัท นานมีบุ๊คส์จำกัด / หนังสือสวยงาม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป เรื่อง สมุดภาพสยามเรเนซองส์ : ความทรงจำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1 REMINISCENCE OF RATTANAKOSIN I (1851 – 1911) โดย หม่อมหลวงภัคภรจันท์ เกษมศรี สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก เรื่อง ในดวงใจนิรันดร์ Still on My Mind โดย ธัมม์ ศิริพรมรินทร์ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด รางวัลชมเชย สำหรับ หนังสือสารคดี มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. จากรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 9 : อีกย่างก้าวของพระบรมเดชานุภาพ โดย สมโชติ อ๋องสกุล ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา โดย ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สำนักพิมพ์เมืองโบราณ 3. เรย์นัลโด อิเลโต้ : มวลชนคนชั้นล่าง ประวัติศาสตร์แห่งชาติ และความรู้แบบอาณานิคม โดย ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักพิมพ์สมมติ / หนังสือนวนิยาย มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. กรงกรรม โดย จุฬามณี บริษัท สำนักพิมพ์แสงดาว จำกัด 2. กระหนกนที โดย ยุวดี มณีกุล สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม 3. ม่านชีวิต โดย ธนายุทธ ลีห์ขจร บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด / หนังสือกวีนิพนธ์ มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ใจธรรมชาติ โดย ‘กุดจี่’ พรชัย แสนยะมูล หจก. ไม้ยมก ไม้ยมก ยกกำลังฝัน 2. แนบเกล้าเนากาล รวมบทร้อยกรอง โดย ชวิน พงษ์ผจญ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต 3. ระหว่างทางกลับบ้าน โดย อังคาร จันทาทิพย์ ผจญภัยสำนักพิมพ์ / หนังสือรวมเรื่องสั้น มี 2 เรื่อง ได้แก่ 1. นักแสดงสด โดย สาคร พูลสุข แพรวสำนักพิมพ์ 2. เสน่หานุสรณ์ โดย เงาจันทร์ แพรวสำนักพิมพ์ / หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. คนนี้คือใคร โดย สุมาลี นานมีบุ๊คส์คิดดี้ 2. ผ้าห่มวิเศษของนิ้งหน่อง โดย มณิศา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด 3. ลูกฉันหายไปไหน โดย ธารินี เหลืองอารีพร บริษัทพาส เอ็ดดูเคชั่น จำกัด / หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี แบ่งเป็นประเภท 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. ป่าต้องห้าม โดย พรชัย แสนยะมูล สำนักพิมพ์เบสต์โฟร์คิดส์ 2. ผ่อผนัง ฟังนิทาน โดย อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย 3. เรารักในหลวง โดย กองบรรณาธิการแพรวเพื่อนเด็ก สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก 2. ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. ความลับของแมว โดย ณิชา พีชวณิชย์ บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด 2. ติ๊ด ติ๊ด…สนุกคิดบ้านสวน โดย รัตนา คชนาท บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด 3. อมตะผีรอบโลก โดย ณัฐชนัน โฆษิตาภรณ์ บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด / หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทบันเทิงคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. เด็กชายที่ปลอมตัวเป็นหนังสือ, ดอกไม้ และอื่น ๆ โดย ปะการัง สำนักพิมพ์เช้าวันอาทิตย์ 2. บึงน้ำแห้ง โดย โชติ ศรีสุวรรณ สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ 3. อัศวินอุตุกับปีศาจทั้งแปด โดย ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร สำนักพิมพ์ภูตะวัน 2. ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง คือ 1. เทใจให้สเปน Spain’s Great Time โดย วันฉัตร ชินสุวาเทย์ บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าวัยรุ่น โดย หมอจริง สปริงบุ๊กส์ 3. How deep is your dream โดย สุดารัตน์ เทียรจักร์ สำนักพิมพ์บันบุ๊คส์ 3. ประเภทบทร้อยกรอง มี 3 เรื่อง คือ 1. ดินแต้มดาว โดย อนุวัฒน์ แก้วลอย โรงนาบ้านไร่ 2. รวมบทกวี “เก็จแก้วกรองกานท์” โดย สุปาณี พัดทอง บริษัท ออน อาร์ต ครีเอชั่น จำกัด 3. เรืองแสงแห่งหัวใจ โดย นิวรรฒก์ ทองจำปา บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด / หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป มี 3 เรื่อง คือ 1. กระบี่หยามยุทธภพ โดย หมู นินจา (สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์) บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. พระเจ้า 500 ชาติ โดย โอม รัชเวทย์และคณะ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด 3. หมาจ๋า Therapy หมาจ๋ารักษาใจ โดย ณัฐวีร์ ลิมปนิลชาติ บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก มี 3 เรื่อง คือ 1. ท่องแดนไดโนเสาร์ ตอน แผ่นดินเปลี่ยนแปลง โดย จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์ และอำพวรรณ ทิวไผ่งาม บริษัท สำนักพิมพ์ เวิลด์คิดส์ จำกัด 2. มอนสเตอร์ในเงามืด โดย มนต์ชัย และ สิริน บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด 3. เมฆของพระราชา โดย กองบรรณาธิการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด / หนังสือสวยงาม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภททั่วไป มี 3 เรื่อง คือ 1. ปฐมบทแห่ง สยาม – ไทย ณ ห้วงกาล ถวายคารวาลัย Siam-Thai Between Time : The Genesis Homage to a Beloved Monarch โดย ณัฐสุดา จันทระ บริษัท คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์ จำกัด 2. วิถีแห่งไทย… สายธารแห่งปัญญา โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 3. สืบสานศิลป์ ในแผ่นดินพระทรงธรรม โดย วงเดือน นาราสัจจ์ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด 2. ประเภทสำหรับเด็ก มี 3 เรื่อง คือ 1. ครอบครัวสุขสันต์ สงกรานต์สุขใจ โดย ภัทรวลี นิ่มนวล บริษัท สำนักพิมพ์โลกหนังสือ จำกัด 2. จุ๊ จุ๊… เงียบหน่อยนะจ๊ะ โดย รัตนา คชนาท สำนักพิมพ์ HELLO KIDS 3. พระมหาชนก วิริยะบารมี โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์ สำนักพิมพ์ทองเกษม อนึ่ง ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ และการประกาศผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

23 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนักเรียน ที่ได้รับผลกระทบอุทกภัย

February 23, 2018 Leave a comment

1053148.JPG

ที่โดมเอนกประสงค์โรงเรียนพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้พระราชทานบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการจัดซื้อโต๊ะและเก้าอี้พระราชทานแก่สถานศึกษาและนักเรียน ที่ได้รับอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันอออกเฉียงเหนือและภาคกลางระหว่างเดือนก.ค.ถึงเดือน ก.ย.2560 จำนวน 60 ล้านบาท โดยมอบให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการ ในครั้งนี้ได้พระราชทานให้โรงเรียนพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) เขต 32 (บุรีรัมย์) โดยนายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีมอบโต๊ะและเก้าอี้พระราชทาน นายรณชัย สุขสมบูรณ์ ผอ.สพม.32 กล่าวรายงาน หัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งผู้บริหารองค์กรหลัก ข้าราชการ ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ร่วมในพิธี

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีการควบคุมดูแลการใช้ โต๊ะและเก้าอี้ให้อยู่ในสภาพที่ดีและให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมทั้งดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี และใช้งานได้อย่างยาวนานและคุ้มค่าและทุกๆ 3 เดือนให้สถานศึกษารายงานสภาพและผลการใช้โต๊ะและเก้าอี้พระราชทานต่อหน่วยงานต้นสังกัด(คลิกชมภาพเพิ่มเติม) https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1294536553980328.1073743424.10…

22 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ข่าว สพฐ. ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

February 22, 2018 Leave a comment

สพป.สิงห์บุรี ร่วมรับชมรายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน และพุธเช้าข่าว สพฐ.

1052358.jpeg

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 07.30 น. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี นำโดย ดร.พิเชฐร์ วันทอง ผอ.สพป.สิงห์บุรี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ผู้อำนวยการกลุ่ม และข้าราชการเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ (Video Conference) “พุธเช้า..ข่าวโรงเรียนและรายการ “พุธเช้า..ข่าว สพฐ. ครั้งที่ 7/2561 โดย ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรับทราบนโยบายและติดตามการดำเนินงาน พร้อมทั้งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายบริหารการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ในการนี้ ได้ประชาสัมพันธ์ให้โรงเรียน พร้อมทั้งบุคลากรของ สพป.สิงห์บุรี ติดตามชมผ่านทาง ช่องทาง ต่าง ๆ ดังนี้ 1. สถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม ช่อง DLTV ช่อง 14 2. ผ่านทาง ยูทรู http://www.youture.com/obectvonline 3. ผ่าน http://www.obectv.tv

เลขาธิการ กพฐ. มอบนโยบายของสพฐ.ในการประชุมขับเคลื่อนนโยบายการสร้างโรงเรียนคุณธรรม สพป.พิษณุโลก เขต 1

1051279.JPG

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการ กพฐ. ให้เกียรติร่วมการประชุม ขับเคลื่อนนโยบาย “สร้างโรงเรียนคุณธรรม นำสู่คุณภาพการศึกษา พัฒนาภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี สร้างวิถีรักการทำงาน สืบสานความมั่นคงต่อสถาบัน สร้างสรรค์นิยมไทย” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานพิธีเปิด และบรรยายพิเศษ เรื่อง “ศาสตร์พระราชาสู่โรงเรียนคุณธรรม” โดยเลขาธิการ เป็นประธานมอบโล่รางวัลโครงการ “วงล้อเด็กดี พร้อมได้มอบนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 1,700 คน ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่นฮอล โรงแรมอมรินทร์ลากูน อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 1 ร่วมประชุมประสานแผนการตรวจราชการ กรณีปกติ

1052522.JPG

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09.00 น. นายพงษ์ชัย ไทยวรรณศรี ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 1 ร่วมการประชุมประสานแผนการตรวจราชการ กรณีปกติ ประจำปีงบประมาณ 2561 เขตตรวจราชการที่ 17 ณ ห้องประชุมพระราชรัตนมุนี สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 อ.เมือง จ.พิษณุโลก โดย ดร.พิธาน พื้นทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม เพื่อรับฟังคำชี้แจงนโยบายการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 / การตรวจ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายที่เป็นจุดเน้นพิเศษเฉพาะด้าน ประจำปีงบประมาณ 2561 /รูปแบบการตรวจราชการ กระบวนการปฏิบัติงานการตรวจ การรายงานผลการตรวจ การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2561 ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้แทนจาก สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา /สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน/สำนักงาน กศน. /สำนักงานอาชีวศึกษา จาก 5 จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 17 ประกอบด้วย ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์

ปชส.สพป.พิษณุโลก เขชต 1:ภาพ/ข่าว

21 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพป.ลพบุรี เขต ๒ ประชุมคณะกรรมการประเมินผลงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข รางวัลเชิดชูเกียรติ เสมา ป.ป.ส. ปีการศึกษา ๒๕๖๐

February 19, 2018 Leave a comment

1051200.JPG

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมคณะสงฆ์อำเภอพัฒนานิคม สพป.ลพบุรี เขต 2 >> ดร.ต่อศักดิ์ บุญเสือ ผู้อำนวยการ สพป.ลพบุรี เขต 2 นางรัตนมารินทร์ สืบสายทองคำ รองผู้อำนวยการ สพป.ลพบุรี เขต 2 ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นคณะกรรมการประเมินฯ ตามคำสั่ง สพป.ลพบุรี เขต 2 ที่ 34/2561 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการประเมินผลงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข รางวัลเชิดชูเกียรติ เสมา ป.ป.ส. ปีการศึกษา 2560 เพื่อรับทราบแนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงาน การปรับแก้ไขที่กระทรวงศึกษาธิการได้แจ้งยกเลิกและใช้แนวทางใหม่ให้เป็นไปตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการกำหนด และพิจารณาผลงานระดับเงิน และผลงานระดับทองต่อไป >> โชติรส เทียนดี งานประชาสัมพันธ์ สพป.ลพบุรี เขต 2/รายงาน

19 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

หน่วยงาน สพฐ. ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

February 16, 2018 Leave a comment

ผอ.สพป.ชัยนาท เยี่ยมเป็นกำลังใจพร้อมต้อนรับคณะกรรมการประเมินศูนย์การเรียนรู้ฯ

1049763.JPG

วันที่ 15 ก.พ.61 นางสาวลออ วิลัย ผอ.สพป.ชัยนาท พร้อมนางทัศณี แก้วทอง รอง ผอ.สพป.ชัยนาท ร่วมเยี่ยมและเป็นกำลังใจให้โรงเรียนชุมชนวัดดักคะนน ในการรับการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา พร้อมกล่าวต้อนรับนายสุเทพ ชนะบวรสกุล ประธานคณะกรรมการประเมิน และคณะกรรมการประเมิน โดยมีนายโอภาส พาพันธ์ ผอ.รร.ชุมชนวัดดักคะนน รายงานพร้อมนำเสนอผลการดำเนินงานของโรงเรียน ซึ่งในการดำเนินงานโรงเรียนมีเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย คณะผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์ประสานงานทางการศึกษาเมือง 1 , ผู้นำชุมชน , คณะกรรมการสถานศึกษา , คณะกรรมการหมู่บ้าน , กลุ่มผู้สูงอายุ , ผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนชุมชนและวัด ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานดังกล่าวเป็นอย่างดีและเข้มแข็ง ธานี วงษ์ทอง ภาพ/ข่าว/พิมพ์

สพป.เลย เขต 2 ประชุมคณะกรรมการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

1049744.JPG

วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ นายพลชัย ชุมปัญญา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ ได้พบปะผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการ การทดสอบความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จะทำการทดสอบด้านการอ่านรู้เรื่อง และการอ่านออกเสียง ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ โดยเฉพาะเรื่องนโยบายการอ่านออกเขียนได้ นโยบายห้องเรียนคุณภาพสู่โรงเรียนคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แจ้งแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อครั้งจัดประชุมรับนโยบายที่จังหวัดนครราชสีมาช่วงวันที่ ๗-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา ได้ฝากให้คุณครูที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการ ได้ศึกษารายละเอียดคู่มือให้เข้าใจชัดเจนในการประเมินพิจารณาให้คะแนน เนื่องจากเด็กมีหลายระดับทั้งเด็กปกติ และเด็กพิเศษ

เลขานุการ รมว.ศธ. ตรวจเยี่ยมโครงการผู้นำในตัวฉัน (The Leader in Me)โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์

1049746.JPG

เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ หม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เดินทางมาปฏิบัติราชการที่จังหวัดบุรีรัมย์ และในช่วงบ่ายได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการผู้นำในตัวฉัน (The Leader in Me) และโรงเรียนแม่เหล็ก และมี ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ผอ. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สพฐ. ร่วมตรวจติดตาม โดย นายชาญชัย ไชยพิศ ผอ.โรงเรียน คณะครู นักเรียนต้อนรับ และนำชมห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการสร้างทักษะชีวิตและภาวะผู้นำด้วยกระบวนการ The Leader in Me ที่สร้าง ๗ อุปนิสัย ช่วยพัฒนาเยาวชนจากภายในสู่ภายนอกแบบองค์รวม ให้ดีขึ้นทั้ง ๓ ด้าน คือ ทักษะชีวิตภาวะผู้นำ วัฒนธรรมโรงเรียน และวิชาการ การตรวจเยี่ยมโรงเรียนในครั้งนี้ได้มีนางสโรชินิ โอชโร และนายประยงค์ เลาลักษณ์จรรยา รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ ร่วมต้อนรับด้วย ศากุน ศิริพานิช…รายงาน

15 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

พิษณุโลก เขต ๒ วางแผนดำเนินงานป้องกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษา

February 13, 2018 Leave a comment

1048562.JPG

นายสุวิทย์ สุริยะวงค์ นายอำเภอวังทอง เป็นประธานในการประชุมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ตามแผนประชารัฐร่วมใจปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ.2561 โดยมี นายบุญสม โพธิ์เงิน ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 2 ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตอำเภอวังทอง เข้าร่วมประชุม เพื่อวางแผนดำเนินงาน อาทิ กำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน และจัดหลักสูตรในโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด จัดกิจกรรมทางเลื่อ สร้างคุณค่า เป้าหมายในชีวิต โดยใช้กิจกรรมทางศาสนา หรือกิจกรรมอื่นๆ เป็นเกราะป้องกันที่เข้มแข็ง และผลิตครูตำรวจแดร์ พร้อมจัดระบบการเข้าสอนในโรงเรียน โดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุมศูนย์ประสานแผน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

13 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ผอ.สพป.ยโสธร เขต ๑ เข้าร่วมประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ

February 12, 2018 Leave a comment

1048183.JPG

นายอดุลย์ กองทอง ผอ.สพป.ยโสธร เขต 1 เข้าร่วมประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ โดย ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธาน ในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2561 วันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุมเขาใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา การประชุมสัมมนา ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. และเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง จำนวน 364 คน การประชุมครั้งนี้ได้รับการร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดจังหวัดนครราชสีมา โดยมี ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงาน ดังนี้

1. เพื่อชี้แจงนโยบายและแนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานจากผู้บริหาร สพฐ.

2. เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งรับทราบปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงาน ประสบการณ์ การนำนโยบายไป สู่การปฏิบัติแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยการศึกษาดูงานและนำเสนอผลการศึกษาดูงานตามประเด็น นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบาย สพฐ. โดยแบ่งการศึกษาดูงานออกเป็น 21 สาย

12 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ. ลงพื้นที่ดูงานรร.ในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมประชุมผอ.สพท.

February 10, 2018 Leave a comment

1047946.jpg

***วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2561 โดยมีผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จังหวัดนครราชสีมา

สำหรับการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2561 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2561 โดยในวันที่ 8 ก.พ. มีการแบ่งกลุ่มกันลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน21 โรงเรียน เพื่อศึกษาดูงานในโครงการต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการและ สพฐ. ได้แก่ โครงการคูปองครู PLC อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน DLTV แผนการเรียนอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เว็บติวฟรีดอทคอม การจัดการขยะ การจัดการเรียนการสอนลูกเสือ การเตรียมความพร้อมการทดสอบระดับชาติ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มาตรการป้องกันและการดูแลเด็กนักเรียน โครงการ Boot Camp ทุน ม.ท.ส. และการยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยใช้เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ก้าวนำสู่คุณภาพ

โดยในช่วงเช้ามีพิธีปล่อยคาราวานลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ซึ่งนางสาวอุษณีย์ ธโนสวรรย์ รองเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวชี้แจงทำความเข้าใจกับผอ.สพท. ถึงภารกิจการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน โดยนางสาวอุษณีย์ กล่าวว่า “สำหรับการลงพื้นที่ศึกษาดูงานครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ลงไปเยี่ยมเยือนสถานศึกษาด้วยกัน ซึ่งนอกจากจะได้รับทราบข้อมูลการดำเนินงานจากพื้นที่จริงแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันอีกด้วย ในฐานะที่ผอ.สพท. เป็นผู้มีประสบการณ์ในการเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนต่างๆ ก็จะได้เรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง นอกจากนั้น เราจะเน้นไปที่การดูโครงการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่สำคัญๆ หากมีลักษณะเด่นหรือจุดเด่นอะไรก็สามารถนำเสนอในที่ประชุมได้ เพื่อที่เลขาธิการ กพฐ. จะได้นำคำแนะนำและข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆ มาจัดทำเป็นนโยบายเพื่อพัฒนาการศึกษาต่อไป”

จากนั้น ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ได้มีการประชุมสรุปข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ศึกษาดูงานทั้ง 21 โรงเรียน ผ่านการนำเสนอต่อที่ประชุม โดยมีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานการประชุม มีการบรรยายพิเศษ พร้อมกับมอบโล่เชิดชูเกียรติและเกียรติบัตรให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น จากนั้นจึงนำเสนอผลการศึกษาดูงานของแต่ละกลุ่ม cluster

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า การประชุมสัมมนาครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกอย่างเป็นทางการของปีนี้ จุดสำคัญของการประชุมคือการมอบนโยบายและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเมื่อก่อนเป็นระบบแบบบนลงล่าง (Top-Down) กว่านโยบายจะลงไปถึงครูและนักเรียนก็ใช้เวลานาน ขณะที่ปัจจุบันเราได้รับรู้ข้อมูลอยู่เกือบจะตลอดเวลา การประชุมบ่อยครั้งก็จะลดจำนวนลงไป แต่ถึงแม้จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ก็อาจจะเข้าใจได้ไม่ตรงกันหรือไม่ชัดเจนเท่ากับได้รับข้อมูลหน้างานจากสภาพที่เป็นจริง ซึ่งเจตนารมณ์ในบางเรื่องที่สำคัญต่อการปฏิบัติ หากได้ประชุมทำความเข้าใจพร้อมหน้ากันก็จะสามารถถ่ายทอดโดยตรงได้ดีกว่า

“การรับข้อมูลจริงจากหน้างานเป็นสิ่งสำคัญ ในครั้งนี้จึงได้ให้ผอ.สพท. ลงพื้นที่ศึกษาดูงานโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา 21 โรงเรียน เพื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินโครงการต่างๆ ของโรงเรียนในสภาพที่เป็นจริง จากนั้น สพฐ. จะรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผอ.สพท. เพื่อนำมาปรับปรุงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

อัฉลา ข่าว/ภาพจากคุณประกอบ

10 กุมภาพันธ์ 2561

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ